คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดโครงการบรรยายพิเศษเสริมสร้างความเข้าใจและป้องกันโรคซึมเศร้า ต้องเข้าใจ ไม่คิดเอง ผ่านระบบออนไลน์ ด้วย Application Zoom ในวันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2564 โดยได้รับเกียรติการบรรยายให้ความรู้โดย รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ก่อนเริ่มบรรยายพิเศษ ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับผู้ร่วมรับฟังการบรรยายพร้อมทั้งกล่าวขอบคุณวิทยากรที่ได้ให้ความรู้ครั้งนี้ สำหรับการบรรยายพิเศษในหัวข้อง “โรคซึมเศร้า ต้องเข้าใจ ไม่คิดเอง” ได้รับความสนใจมีผู้ร่วมเข้าร่วมรับฟังผ่านระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก เสร็จสิ้นจากการให้ความรู้ รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ร่วมซักถามข้อสงสัยพร้อมตอบไขข้อข้องใจในด้านปัญหาสุขภาพจิต
ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก จากการศึกษาร่วมกันระหว่าง องค์กร อนามัยโลก Harvard School of Public Health และธนาคารโลกคาดการณ์ภาระของโรค (Burden of disease) ที่มีประชากรในทุกภูมิภาคของโลก โดยวัดความสูญเสียเป็นจำนวนปีที่ดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี พบภายในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดและปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วย ด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น สำหรับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า มี นักศึกษาที่มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นบางรายมาตรวจด้วยภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น เพื่อให้การเตรียมความ พร้อมอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาของคณะศิลปกรรมศาสตร์ สามารถทำความเข้าใจและป้องกันโรคซึมเศร้าได้
เช้าวันนี้ 24 พฤษภาคม 2564 อ.พชญ อัคพราหมณ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ (ประธานโครงการขับเคลื่อน U2T 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)พร้อมทั้งผู้ประสานงานในตำบลที่รับผิดชอบทั้ง 3 ตำบล ประกอบไปด้วยตำบลกุดน้ำใส ตำบลม่วงหวาน และตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จ.ขอนแก่น ได้เดินทางไปยังพื้นที่เพื่อมอบวัสดุต่าง ๆ ในการรณรงค์ต้านภัยโควิด-19 ตามมาตรการของกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่ได้รับมอบหมายงานได้ออกให้ความรู้ถึงมาตรการณ์ต่าง ๆ ของทางภาครัฐและวิธีการการป้องกันตัวให้ห่างกันจากภัยโรคระบาด Covid – 19 ร่วมกับชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และเทศบาลตำบล โดยมีผู้นำชุมชนได้รับมอบสิ่งของเพื่อกระจายนำไปป้องกันและควบคุมความเสี่ยงของโรคระบาด Covid – 19 ที่อาจจะเกิดขึ้นสู่ชุมชนได้หากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดกิจกรรมเทศกาลถนนศิลปะครั้งที่ 18 ณ บริเวณสะพานขาว ในระหว่างวันที่ 2 -3 เมษายน 2564 กิจกรรมเริ่มต้นในเวลาประมาณ 17.00 น. และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเวลา 19.00 น. ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานในพิธีเปิด และมีแขกที่สำคัญเข้าร่วมงานครั้งนี้ประกอบด้วย ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์ อ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผศ.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.วายุ กาญจนศร รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาคณะศึกษาจาก พร้อมกันนี้ ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้กล่าวรายงานและจุดประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ต่อประธานในพิธี จากนั้นประธานในพิธีได้ได้ระบายสีบนผืนผ้าใบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าได้มีพิธีการเปิดกิจกรรมโครงการเทศกาลถนนศิลปะครั้งที่ 18 ขึ้นอย่างเป็นทางการ และได้มอบของที่ระลึกแก่ผู้สนับสนุนกิจกรรมโครงการ และเครือข่ายความร่วมมือ หน่วยงาน สถาบัน องค์กรร่วมโครงการ จากนั้นได้ร่วมถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึก
ด้าน รศ. นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ประธานในพิธีได้กล่าวในส่วนหนึ่งว่า “ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการถนนศิลปะครั้งนี้เป็นครั้งที่ 18 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งเน้นการนำความเป็นวิชาการ จากชั้นเรียนลงมาสู่ท้องถนนเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงผลงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในทุกแขนง และทุกรูปแบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างพื้นที่สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสิรม และเพิ่มคุณค่าของงานศิลปะ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการสร้างสรรค์โดยการเชิญภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการนี้อย่างทั่วถึง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางศิลปกรรมของภูมิภาคอย่างประจักษ์ชัด ”
ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้กล่าวเสิรมว่า “แนวคิดในการดำเนินงานในปีนี้ก็จะคล้ายๆกับทุกๆครั้งที่ผ่านมาโดยยังรักษาความเป็นวิชาการข้างถนน ซึ่งหลายๆคนอาจคิดว่าการเข้าถึงศิลปะเป็นสิ่งที่ยากต่อความเข้าใจ เวทีนี้จึงเป็นการนำผลงานทางวิชาการที่มีอยู่ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาต่างๆ ออกมาแสดงโชว์ให้กับผู้คนได้เห็นและง่ายต่อความเข้าใจ ได้ลอง ได้สัมผัส ได้เข้าถึง ซึ่งเป็นผลดีต่อนักเรียนตลอดจนผู้ปกครองที่จะได้เข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนจากทางคณะฯ และในปีนี้เป็นการจัดแบบ New Normal เพื่อเว้นระยะห่างของพื้นที่ ไม่ให้มีการแออัดเบียดเสียดกัน ซึ่งเป็นอีก 1 มาตรการณ์ของการควบคุมโรคระดับ Covid – 19 ที่กำลังเฝ้าระวังกันอยู่ในขณะนี้ “
สำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ณ สะพานขาว ในช่วงเวลา 17.00 – 24.00 น. ในวันที่ 2 เมษายน 2564 นี้ประกอบไปด้วย กิจกรรมการแสดงดนตรี การวาดเส้นภาพเหมือนบุคคล การปั้นภาพเหมือนบุคคล ปฏิบัติงานดินเผา ปฏิบัติงานภาพพิมพ์ ปฏิบัติงานภาพถ่ายสีน้ำมัน นิทรรศการภาพถ่าย กิจกรรมระบายสีสำหรับประชาชนทั่วไป กิจกรรมจากบ้านชีวาศิลป์ การแสดงผลงานศิลปะและงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา คณาจารย์ และศิลปินอิสระ
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภายในคณะศิลปกรรมศาสตร์มีทั้งสิ้น 9 หลักสูตร ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งครบทุกด้านของสายศิลปะ และเป็นคณะแรกในประเทศที่ผ่านการประเมินด้านคุณการจัดการเรียนการสอน หรือ EdPEx 200 ของสายทางด้านศิลปกรรม สำหรับผู้ที่พลาดการเยี่ยมชมงานปีใน พบกันใหม่ครั้งหน้ากับโครงการเทศการถนนศิลปะครั้งที่ 19
หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มอาหารเกษตรปลอดภัย "ศิลาเฮลท์" (SILA HEALTH) ผศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ พร้อมด้วย ตัวแทน นศ.ปี2 นางสาวกชกร ฝางชัยภูมิ นางสาววชิรากรณ์ เร่งสมบูรณ์ และนางสาวเกวลิน ชนะตระกูลเลิศ ส่งมอบงานการออกแบบร้านค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กลุ่มอาหารเกษตรปลอดภัย “ศิลาเฮลท์ (SILA HEALTH)”คุณบรรจบ ชาทอง ประธานกลุ่มและคุณสัญญา สามารถ เลขากลุ่มฯ ณ สถานที่ ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (กม.25) เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แหล่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนด้วยเกษตรสมัยใหม่ ในวันที่ 21 เมษายน 2564 โดยในกิจกรรม นักศึกษาลงพื้นที่ ในรายวิชา การออกแบบบรรจุภัณฑ์และนิทรรศการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ว่าด้วยเรื่อง การศึกษาปฏิบัติการ วิธีการวิจัย การศึกษาสภาพชุมชนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการจัดนิทรรศการที่เหมาะสม ได้ดำเนินการในรูปแบบ หาความต้องการชุมชน วิเคราะห์พื้นที่จากข้อมูลพื้นฐาน การหาจุดเด่นของพื้นที่ โดยประชุมระดมสมอง ทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาสู่แผนงานร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ตามศักยภาพชุมชน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมพัฒนา ต่อยอดการออกแบบสู่การผลิตจริง ภายไต้โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด กิจกรรมสนับสนุน ด้านการผลิต ด้านการพัฒนาคุณภาพ ให้มาตรฐานต่อไป
วานนี้ (วันพุธที่ 31 มีนาคม 2564) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมดอกศิลป์ 1 ทีมผู้บริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี ได้เข้าให้การต้อนรับพร้อมร่วมรับฟังกระบวนการ วิธีการจัดการเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศ (EdPEx) ซึ่งในปัจจุบัน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ EdPEx 200 เป็นที่เรียบร้อยและยังคงมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกณฑ์การพัฒนา EdPEx ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในการดำเนินกิจกรรม EdPEx Coaching มาแนะแนวทางการปฏิบัติซึ่งประกอบไปด้วย ผศ.นพ.ศักดา วราอัศวปติ (ที่ปรึกษาหลัก) ดร.ภาวนา กิตติวิมลชัย (ที่ปรึกษาหลัก) ผศ.ดร.กรวิภา พูลผล (ที่ปรึกษารอง) ผศ.ดร.ไมตรี ปะการะสังข์ (ที่ปรึกษารอง) และ ผศ.ดร.พักตร์วิไล ศรีแสง (ที่ปรึกษาร่วม) จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้นำเสนอบริบทของคณะ (OP) ผลลัพธ์สำคัญ ประเด็นการพัฒนา ความต้องการ ความคาดหวังของคณะฯ ให้กับทีม Coaching ได้รับทราบ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานในก้าวต่อไป