Open menu

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้ดำเนินการวิจัยชุดโครงการอัตลักษณ์และภูมิปัญญาในงานศิลปกรรมพม่า เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งประกอบด้วย โครงการย่อย 5 โครงการที่รวบรวมการศึกษาที่ครอบคลุมและหลากหลาย เช่น พระไม้ บ้านพื้นถิ่น ลวดลายประดับฯ หัตถกรรม เครื่องดนตรีในระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2562

สำหรับการศึกษาวิจัยลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลครั้งนี้ได้มีการนำทีมโดย รศ.ดร.นิยม วงษ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยทีมงานวิจัย ประกอบด้วย อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาร่วม 20 คน โครงการนี้นอกจากจะเป็นการวิจัยเพื่อศึกษาและต่อยอดองค์ความรู้แล้วยังเป็นการฝึกนักวิจัยหน้าใหม่ในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก ในการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามด้วยการปฏิบัติจริงโดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงประวัติ ความเป็นมา ตลอดจนอัตลักษณ์และภูมิปัญญางานศิลปกรรมเมืองเชียงตุง สาธารณรัฐสหภาพพม่า

เส้นทางการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัยชุดนี้ได้เดินทางเก็บข้อมูลเริ่มต้นจากบ้านพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เชียงตุง – หมู่บ้านหนองเงินหรือหมู่บ้านเฟยฮุงหมู่บ้านเก่า  - วัดถ่างลุ – วัดบ้านไซ – วัดพระธาตุฮวยหลวง – วังตงสี่ (นอกเมือง) – พระธาตุจอมดอย – วัดเจ้าสินมั่น – พระธาตุบ้านเมือง – พระธาตุเบียงใจ – วัดยางกวง – พระพุทธรูปโบราณกว่า 300 องค์ ที่วัดอินบุพผาราม – วัดพระธาตุจอมคา – วัดเชียงยืน – วัดหัวข่วง – วัดพระเจ้าหลวง – วัดพระแก้ว – วังทายาทเจ้าฟ้าหรือหอคา – หอนางฟ้าพระสนม ตลอดจนตึกข้าราชการของสหรัฐไทยเดิม

 

07

08

14

13

03

02

21

05

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)