Open menu

       ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดทำโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการศิลปกรรมร่วมสมัยอาเซียน ( The ASEAN contemporary art  KKU workshop )  ตอน “โลหะ และ เกลือ Metal and Salt” ระหว่างวันที่ 25-29 สิงหาคม 2565 มีศิลปินไทยและต่างชาติเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่งเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่ายทอดออกมาสู่สาธารณชนให้ได้ชมผลงาน

      ศิลปินที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มีจำนวนกว่า 30 คน เป็นศิลปินต่างชาติและศิลปินไทย สำหรับศิลปินต่างชาตินั้นประกอบด้วยศิลปินที่มาจากประเทศ ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และอิตาลีได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์ผลงาน โดยในวันพฤหัสบดีที่ 25 – 26 สิหาคม 2565 ได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงศึกษาพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมบ้านเชียง ต่อด้วยชมแหล่งภูมิปัญญาการผลิตเกลือสินเธาว์บ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และชมสถานที่ต่าง ๆในจังหวัดหนองคาย อาทิ วัดพระธาตุบังพวน แหล่งแร่โลหะภูโล้น เป็นต้น

       และในวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 ได้มีการนำผลงานของศิลปินทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมนำมาจัดนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยอาเซียน ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเวลา 13.30 น. และได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาเป็นประธานในพิธีเปิด จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุลได้กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของโครงการต่อประธาน ศิลปิน และแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมพิธี  รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ประธานในพิธีได้กล่าวต้อนรับและชื่นชมศิลปินในการมุ่งมันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกในด้านต่าง ๆออกมาให้ผู้คนได้รับชม จึงกล่าวเปิดงานนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยอาเซียน ( The ASEAN contemporary art  KKU workshop )

       ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีฯ ได้กล่าวว่า “โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการศิลปกรรมร่วมสมัยอาเซียน ตอน “โลหะ และ เกลือ Metal and Salt” เป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมสมัยทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ จากประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประชาชาติอื่น ๆ จากนอกภูมิภาค การบูรณาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิชาการ ศิลปิน นักออกแบบ คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์ทางด้านสุนทรียภาพจากศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แนวคิด มุมมอง ทัศนคติในการสร้างสรรค์ ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบ วิธีหรือกระบวนการสร้างสรรค์ ที่มีความหลากหลาย มีความน่าสนใจ มีการนำเสนอที่แปลกใหม่ โดยกระบวนการและผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการ และคุณค่าในเชิงประวัติและพัฒนาการของงานศิลปกรรมและงานออกแบบร่วมสมัยในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และนานาชาติ ที่สามารถนำไปสู่บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ได้ทั้งในรูปแบบของชิ้นงานในการสะสม(Art Collection) และโดยการบันทึกกระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปิน(Art Process Documentary) ที่เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills)และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศสำหรับการคันคว้าวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคคลชุมชนและสังคมทั่วไป ” สำหรับการจัดนิทรรศการจะดำเนินการจัดไปถึงวันที่10 กันยายน 2565 ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมผลงานได้ในวันและเวลาราชการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

DSC0705

DSC0619

DSC0627

DSC0622

DSC0614

DSC0609

DSC0637

DSC0654

DSC0694

DSC0696

DSC0711

DSC0723

DSC0576

DSC0575

DSC0583

DSC0584

DSC0587

DSC0588

 

 

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)