Open menu

       สายวิชาดุริยางคศิลป์ สาขาวิชาดนตรีตะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการบริการวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ดนตรีบำบัดสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัวระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ 

       สำหรับวิทยากรที่ให้ความรู้ครั้งนี้คือ Professor Dr. Amelia Oldfield เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีบำบัดจากประเทศอังกฤษ ด้วยประสบการณ์ในการทำงานดนตรีบำบัดทางคลินิกในเคมบริดจ์ กว่า 37 ปี และเป็นสมาชิกของสถาบันวิจัยดนตรีบำบัดเคมบริดจ์ (CIMTR) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ในกิจกรรมครั้งนี้ได้มีฝึกปฏิบัติการเชิงทดลอง การใช้ดนตรีในรูปแบบต่างๆ ตลอดทั้งการบรรยายดนตรีบำบัดสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กระบวนการของดนตรีบำบัด ฝึกปฏิบัติการเชิงทดลอง การใช้ดนตรีสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม โดย Professor Amelia Oldfield และมีอีกหลากหลายกิจกรรม

       ดนตรีบำบัดเป็นการบำบัดรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อการพัฒนาสุขภาวะของเด็ก ด้วยการประยุกต์ใช้ดนตรีอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนการบำบัด การจัดกิจกรรม และประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ได้รับการบำบัด ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพด้านต่าง ๆ ของผู้ได้รับการบำบัดอย่างยั่งยืน มีรายงานการวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ดนตรีบำบัดสามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของเด็กได้ ทั้งในด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ของเด็กและคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น โดยผ่านการใช้กิจกรรมดนตรีบำบัดที่หลากหลายซึ่งนักดนตรีบำบัดจะมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศที่ดีมีความสนุกสนาน โดยไม่ได้กดดันหรือคาดหวังกับผลที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก จึงทำให้กระบวนการในการบำบัดเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเหมาะสมกับในเด็กแต่ละคน เมื่อเด็กได้แสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีพัฒนาการต่าง ๆ ที่แสดงออกมาให้เห็นแม้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย แต่เมื่อผู้ปกครองได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเหล่านั้นแล้ว จะทำให้ผู้ปกครองเกิดความภูมิใจในบุตรหลานของตนว่าสามารถทำในสิ่งต่าง ๆ ได้ ทั้งยังทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการร่วมในกิจกรรมดนตรีบำบัด จนกระทั้งผู้ปกครองอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมดนตรีบำบัดอย่างเต็มใจ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญมากในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 875415478917507312849457937182842423869440o

875604858917509946182523612395575602839552o

IMG5741

IMG5756

876661028917511812849004610161163303387136o

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)