Open menu

       คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร.นงนุช ภู่มาลี อาจารย์ประจำสาขาทัศนศิลป์และออกแบบนิเทศศิลป์จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทยครั้งที่ 5 “ ในความงามมีความรู้ : เข้าใจเรื่องเครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ของไทย” ในวันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2564 เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชาทฤษฎีและประวัติศาสตร์ศิลปะ บูรณาการองค์ความรู้ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวมถึงบุคคลทั่วไปอีกทั้งยังเสริมทักษะการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ กระบวนการสืบค้น วิเคราะห์ ศึกษาข้อมูลของนักศึกษาจากนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ เป็นการต่อยอดองค์ความรู้สำคัญ นำเสนอประเด็นการศึกษาที่น่าสนใจ และเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล กิจกรรมในงานเป็นการบรรยายให้ความรู้ในแง่คิด มุมมองด้านต่าง ๆ

       โดยเริ่มต้นกิจกรรมเมื่อเวลา 9.00 น.เป็นการบรรยายเรื่อง “เครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย และ“ลวดลายบน เครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา” โดยวิทยากร อาจารย์อัตถสิทธิ์ สุขขำ ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และในช่วงบ่ายเวลา 13.00 น.ได้มีการบรรยายเรื่อง “เครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผาในภาคอีสาน”  โดยวิทยากร คุณสมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีชำนาญการ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ต่อด้วยเวลา 15.00 น.บรรยายเรื่อง  “รู้จักเครื่องเบญจรงค์ของไทยปัจจุบัน” โดยวิทยากร คุณวิฑูรย์ เจียวเจริญ ผู้ประกอบกิจการ “บุราณเบญจรงค์” ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นงนุช ภู่มาลี

 

       โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทยครั้งที่ 5 นี้ต้องการนำเสนอประเด็น “ ในความงามมีความรู้ : เครื่องเบญจรงค์ไทย ”   ซึ่ง "เบญจรงค์" คือ ชื่อเรียกเครื่องถ้วยชนิดหนึ่ง ประเภทเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ที่กล่าวว่ามีใช้ในประเทศไทยแต่ครั้งอยุธยาสืบจนถึงรัตนโกสินทร์ ด้วยกรรมวิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ การเขียนลายโดยลงยาด้วยสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม) เป็นเครื่องถ้วยเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ต้องใช้ช่างฝีมือที่มีความปราณีตและ มีความชำนาญเฉพาะทาง จากเครื่องใช้ของชนชั้นสูง จนปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ยังได้รับการสืบสาน และได้รับความนิยมโดยเฉพาะเป็นงานศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย จากอดีตสู่ตัวอย่างการสืบทอดในปัจจุบัน

       ดังนั้น โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทยครั้งที่ 5 “ ในความงามมีความรู้ : เข้าใจเรื่องเครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ของไทย”” นี้มีโอกาสจึงอยากนำองค์ความรู้ของงานช่างโบราณในงานศิลปกรรมไทยมาเผยแพร่ โดยที่ระยะเวลานี้ติดปัญหา เรื่องโรคระบาด โควิท -19 ทำให้การจัดกิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม เหลือเพียงกิจกรรม จัดบรรยายองค์ความรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เข้าใจเรื่องเครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ของไทย”จากนักวิชาการประวัติศาสตร์ศิลปะ และผู้ประกอบกิจการเครื่องเบญจรงค์ไทย

 LINEALBUM--52109133

LINEALBUM--52109134

LINEALBUM--52109132

LINEALBUM--52109137

LINEALBUM--521091338

LINEALBUM--521091324

LINEALBUM--52109131

LINEALBUM--521091323

LINEALBUM--52109136

LINEALBUM--521091316

LINEALBUM--521091320

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)