Open menu

การบูรณาองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งปฏิบัติการห้องเรียนชุมชนแหล่งเรียนรู้ สถานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ (Social Lab)

 

                     คณาจารย์และนักศึกษาแขนงวิชาบรรจุภัณฑ์และนิทรรศการ หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาทัศนศิลป์และออกแบบนิเทศศิลป์ ลงพื้นที่เพื่อศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สำรวจสภาพ บริบทพื้นที่ของชุมชน แลกเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตประสบการณ์ของการเรียนรู้จากที่เคยศึกษาเฉพาะห้องเรียน นักศึกษาได้สัมผัสกับพื้นที่ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมได้เรียนรู้เพิ่มเติม  ได้จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ สำหรับการบูรณาองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน ซึงชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สถานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ (Social Lab) ให้เกิดการบูรณาการกิจกรรมร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนสำหรับพัฒนาทักษะในศตวรรษ ที่ 21 เป็นรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในสถานศึกษาร่วมกับชุมชน ผศ.ดร.ดวงจันทร์  นาชัยสินธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ นำนักศึกษาแขนงวิชาบรรจุภัณฑ์และนิทรรศการ ชั้นปีที่ 2 ลงพื้นที่กิจกรรมการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ การผลิตบล็อกตัด (DIE-CUT)สำหรับบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ ที่โรงงานพิมพ์ทองเค และสำรวจตลาด(Market Survey)บรรจุภัณฑ์ประเภท วัสดุ ชนิดต่างๆ บริษัท อีสานพลาสแพ็ค (1999) กิจกรรมทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ชุมชน ฝึกปฏิบัติการ การออกแบบทดลองลวดลายใหม่และแบบดั้งเดิม เป็นการทอขึ้นลายพื้นฐานการทอผ้าแบบอีสาน โดย ผศ.ดร. วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น “ผ้าไหมแต้มหมี่” เป็นวิถีการผลิต การทอผ้าครบวงจร การมัดหมี่แบบดั้งเดิมและการแต้มหมี่นวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านหัวฝาย โดยคุณสุภาณี ภูแล่นกี่ ประธานกลุ่มฯ กิจกรรมการปฏิบัติการย้อมคราม กลุ่มฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ “JUTATIP” และกิจกรรมฅญาบาติก’ นวัตกรรมโอทอป ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น การต่อยอดแนวคิดสร้างความแตกต่าง มูลค่าเพิ่ม จนกลายเป็นสิ่งใหม่สู่นวัตกรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมและแนวคิดสมัยใหม่ ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก ลาดลายบาติก ลายเส้นสีสะท้อนเสน่ห์แบบอีสาน ภายใต้แบรนด์ชื่อ ‘ฅญา’โดยคุณชนัญญา ดรเขื่อนสม เจ้าของแบรนด์ ในการบูรณาองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น แหล่งปฏิบัติการห้องเรียนชุมชนซึ่งจะเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของนักศึกษามาสู่กระบวนการออกแบบสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและสากลที่สะท้อนเอกลักษณ์วิถีอีสานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถนำผลไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคม

 

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)