คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับเทศบาลตำบนโนนสมบูรณ์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการ U2T ได้ดำเนินกิจกรรม การออกแบบลวดลายผ้าทออีสาน สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ ได้รับเกียรติจาก ท่านกฤตวัฒน์ พงษ์สมบัติ นายกเทศมนตรีตำโนนสมบูรณ์ อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชาภัตร พุฒิคามิน ที่ปรึกษาโครงการฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงเรียนบ้านป่าเปลือย เทพอำนวย ต.โนนสมบูรณ์ อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ การฝึกปฎิบัติการออกแบบ ลวดลายผ้าทออีสาน โดยมีรูปแบบท้องถิ่น รูปแบบร่วมสมัยและรูปแบบทันสมัย เป็นการอบรมเชิงปฎิบัติการอย่างมีส่วนร่วม สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีอัตลักษณ์ที่สะท้อนตัวตนของชุมชน อันเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน
จากการที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เปิดรับสมัครนักเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมประกวดละครเยาวชนสร้างสรรค์ ”แก่นอีสานวัฒน์” ประจำปี 2564 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “คิดอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างยั่งยืน” มีทีมนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆทั่วภาคอีสานได้ส่งเทปบันทึกภาพการแสดงเพื่อให้คณะกรรมการการตัดสินการประกวดละครสร้างสรรค์ได้พิจารณาและมีทีมจากโรงเรียนต่าง ๆที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งสิ้น 12 ทีม และในวันนี้ 25 มิถุนายน 254 เวลา 9.30 น.ทีมที่ผ่านการคัดเลือกได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการและกิจกรรมแนะแนวทางสร้างสรรค์เพื่อการแสดงของแก่นอีสานวัฒน์ ในระหว่างวันที่ 25 – 27 มิถุนายน 2564 และจะมีการชิงชนะเลิศในวันที่ 27 -28 สสิงหาคม 2564 ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในพิธีเปิดการปฐมนิเทศฯ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวรายงานถึงความเป็นมาของกิจกรรมครั้งนี้โดย ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ ได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า “โครงการประกวดละครเยาวชนสร้างสรรค์ “แก่นอีสานวัฒน์” ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ซึ่งในปีที่แล้ว ภาพบรรยากาศของการดำเนินงานเป็นไปอย่างคึกคักและสนุกสนาน มีทั้งสาระความรู้ที่ทีมวิทยากรได้ระดมสรรพกำลังในการถ่ายทอด “เครื่องมือทางการละคร” ให้แก่ผู้อบรม รวมถึงบรรยากาศของรอบชิงชนะเลิศ ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่มีผลงานละครเวทีจากฝีมือของเยาวชนอีสาน ถูกนำเสนอให้ผู้ชมได้รับชมอย่างจุใจ ทั้งนี้ต้องขอชื่นชมเยาวชนทุกคนและคุณครูทุกท่าน ที่ให้ความสนใจและทุ่มเทในการสร้างสรรค์ผลงานละครเวทีคุณภาพดี เพื่อมอบสาระ ความรู้ และสุนทรียะที่ดีไปยังผู้ชม”
ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล ได้ให้ข้อมูลว่า “สำหรับการดำเนินงานในปีนี้ ยังคงดำเนินตามจุดมุ่งหมายหลักของโครงการคือ “การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการด้านศิลปะการละครและศิลปวัฒนธรรมอีสาน ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานละครเวที” ซึ่งในตลอด 3 วันต่อจากนี้ จะเป็นการจัดกิจกรรมอบรมการผลิตและสร้างสรรค์ละครเวที โดยทีมวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะการละครและศิลปวัฒนธรรมอีสาน รวมถึงการสัมผัสประสบการณ์ภาคสนามในพื้นที่ชุมชนเมืองขอนแก่น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับการติดเครื่องมือสำคัญที่นำกลับใช้สร้างสรรค์และพัฒนาผลงานละครอย่างเต็มรูปแบบ”
สำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 12 ทีมเพื่อชิงชัยกันในรอบชิงชนะเลิศประกอบด้วย
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบนวังสวาบ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการ U2T ได้ดำเนินกิจกรรม การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.สุวิทย์ อุปสัย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จากสำนักบริการวิชาการ กล่าวเปิดงาน ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ออกแบบ ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์และลวดลายที่มีอัตลักษณ์งานหัตถกรรมจักสาน วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ และนายกองมี หมื่นแก้ว ในระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ณ พื้นที่ศูนย์บริการท่องเที่ยว บ้านวังผาดำ ต.วังสวาป อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ให้มี ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ การฝึกปฎิบัติการออกแบบ การออกแบบลวดลายประยุกต์ใหม่ในงานหัตถกรรมจักสาน โดยได้ทำลวดลาย “ดอกยาง”เป็นต้นแบบเบื้องต้นในการทดลองปฎิบัติการจักสานให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตตลอดจนการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.วิจิตร วินทะไชย รองคณบดีฝ่ายบริหาร และคณาจารย์ ศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นให้มีบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมการเรียนรู้ จินตนาการของเด็กปฐมวัย มีสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ในระหว่างวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา และโครงการนี้จะดำเนินการต่อเนื่องไปอีกครั้งในวันที่ 26-27 มิถุนายน 2564
ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นได้จัดให้มีสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อให้บริการดูแลเด็กปฐมวัยกลุ่มอายุ 1-3 ปี ฉะนั้น การจัดสภาพแวดล้อมสถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีบรรยากาศที่ดีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมการเรียนรู้ จินตนาการของเด็กปฐมวัยด้วยการวาดภาพผนังในอาคารให้มีความสวยงาม ซึ่งคณะศิลปกรรมศาสตร์เล็งเห็นความสำคัญและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯจึงได้กำหนดโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นอีกทั้งเพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสาธารณะหรือจิตอาสา พร้อมที่จะช่วยเหลือชุมชน อันเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคณะศิลปกรรมศาสตร์