Open menu

       คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร.นงนุช ภู่มาลี อาจารย์ประจำสาขาทัศนศิลป์และออกแบบนิเทศศิลป์จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทยครั้งที่ 5 “ ในความงามมีความรู้ : เข้าใจเรื่องเครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ของไทย” ในวันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2564 เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชาทฤษฎีและประวัติศาสตร์ศิลปะ บูรณาการองค์ความรู้ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวมถึงบุคคลทั่วไปอีกทั้งยังเสริมทักษะการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ กระบวนการสืบค้น วิเคราะห์ ศึกษาข้อมูลของนักศึกษาจากนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ เป็นการต่อยอดองค์ความรู้สำคัญ นำเสนอประเด็นการศึกษาที่น่าสนใจ และเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล กิจกรรมในงานเป็นการบรรยายให้ความรู้ในแง่คิด มุมมองด้านต่าง ๆ

       โดยเริ่มต้นกิจกรรมเมื่อเวลา 9.00 น.เป็นการบรรยายเรื่อง “เครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย และ“ลวดลายบน เครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา” โดยวิทยากร อาจารย์อัตถสิทธิ์ สุขขำ ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และในช่วงบ่ายเวลา 13.00 น.ได้มีการบรรยายเรื่อง “เครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผาในภาคอีสาน”  โดยวิทยากร คุณสมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีชำนาญการ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ต่อด้วยเวลา 15.00 น.บรรยายเรื่อง  “รู้จักเครื่องเบญจรงค์ของไทยปัจจุบัน” โดยวิทยากร คุณวิฑูรย์ เจียวเจริญ ผู้ประกอบกิจการ “บุราณเบญจรงค์” ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นงนุช ภู่มาลี

 

       โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทยครั้งที่ 5 นี้ต้องการนำเสนอประเด็น “ ในความงามมีความรู้ : เครื่องเบญจรงค์ไทย ”   ซึ่ง "เบญจรงค์" คือ ชื่อเรียกเครื่องถ้วยชนิดหนึ่ง ประเภทเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ที่กล่าวว่ามีใช้ในประเทศไทยแต่ครั้งอยุธยาสืบจนถึงรัตนโกสินทร์ ด้วยกรรมวิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ การเขียนลายโดยลงยาด้วยสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม) เป็นเครื่องถ้วยเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ต้องใช้ช่างฝีมือที่มีความปราณีตและ มีความชำนาญเฉพาะทาง จากเครื่องใช้ของชนชั้นสูง จนปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ยังได้รับการสืบสาน และได้รับความนิยมโดยเฉพาะเป็นงานศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย จากอดีตสู่ตัวอย่างการสืบทอดในปัจจุบัน

       ดังนั้น โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทยครั้งที่ 5 “ ในความงามมีความรู้ : เข้าใจเรื่องเครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ของไทย”” นี้มีโอกาสจึงอยากนำองค์ความรู้ของงานช่างโบราณในงานศิลปกรรมไทยมาเผยแพร่ โดยที่ระยะเวลานี้ติดปัญหา เรื่องโรคระบาด โควิท -19 ทำให้การจัดกิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม เหลือเพียงกิจกรรม จัดบรรยายองค์ความรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เข้าใจเรื่องเครื่องถ้วย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ของไทย”จากนักวิชาการประวัติศาสตร์ศิลปะ และผู้ประกอบกิจการเครื่องเบญจรงค์ไทย

 LINEALBUM--52109133

LINEALBUM--52109134

LINEALBUM--52109132

LINEALBUM--52109137

LINEALBUM--521091338

LINEALBUM--521091324

LINEALBUM--52109131

LINEALBUM--521091323

LINEALBUM--52109136

LINEALBUM--521091316

LINEALBUM--521091320

          คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2564 (FAR7) “ศิลป์ข้ามศาสตร์” Arts Integration ในระหว่างวันที่ 20-21สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นการจัดการประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน สำหรับในปีนี้เป็นการจัดในรูปแบบ Online 100 % เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส Covid – 19  ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วโลก เป็นการประชุมผ่านระบบ VDO Conference ผ่านทางโปรแกรม Zoom และ ถ่ายทอดสัญญาณสดการบรรยายผ่านทาง Facebook พร้อมทั้งสื่อออนไลน์ต่าง ๆ  และเว็บไซต์การประชุม https://far.kku.ac.th

          เริ่มต้นกิจกรรมได้มีพิธีการกล่าวรายงานต่อประธานในพิธีถึงความเป็นมา และหลักแนวคิดการจัดประชุมครั้งนี้โดย ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จากนั้น รศ.นพ.ชาญชัย พานทอง วิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธีได้กล่าวชื่นชมการจัดงานที่ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านศิลปะให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน ในเวลา 10.00 น.หลังจากเสร็จสิ้นในพิธีเปิดได้มีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง“Arts and science ความท้าทายในศตวรรษที่ 21” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์  สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

          สำหรับการนำเสนอผลงานในประเภท Oral Presentation มีการแบ่งห้องนำเสนอยแยกตามระดับการประชุมทั้งสิ้น 8 ห้อง ประกอบไปด้วย 1.กลุ่มระดับชาติสาขาทัศนศิลป์ 2.กลุ่มนานาชาติสาขาทัศนศิลป์ 3.กลุ่มระดับชาติสาขาการออกแบบ 4.กลุ่มนานาชาติสาขาการออกแบบ 5.กลุ่มระดับชาติสาขาดนตรีและการแสดง  6.กลุ่มนานาชาติสาขาดนตรีและการแสดง 7.กลุ่มระดับชาติสาขาวัฒนธรรม และ 8.กลุ่มนานาชาติสาขาวัฒนธรรม จุดประสงค์หลักของการจัดงานครั้งนี้เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

 04

02

01

19

17

14

09

13

16

06

 

 

         

       เช้าวันนี้ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 9.30 น. ณ หอประชุมเทศบาลตำบลบ้านค้อ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายบริหารฯ ได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างความผาสุกและผูกพันในองค์กร ประจำปี พ.ศ.2564 ซึ่งในปีนี้ได้มีการจัดกิจกรรมมอบอุปกรณ์สู้ภัยต้านโควิด-19 อาทิเช่น ชุด PPE เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หน้ากากอนามัย น้ำดื่ม ตลอดจนเครื่องอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ ซึ่งทางคณะฯได้มีการประชาสัมพันธ์ก่อนหน้านั้นซึ่งได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค เพื่อนำไปมอบให้กับทางเทศบาลตำบลบ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

       สำหรับผู้ที่ร่วมเดินทางเพื่อทำกิจกรรมครั้งนี้นำโดย ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี ผศ.วิจิตร วินทะไชย รองคณบดีฝ่ายบริหาร บุคลากรประจำคณะฯ   เมื่อทางคณะฯได้เดินทางไปถึงเทศบาลตำบลบ้านค้อได้มีการจัดต้อนรับโดย นายจักรพงศ์เพ็ชรแสน นายกเทศมนตรีตำบลบ้านค้อ  และคณะบุคลากรประจำเทศบาล จากนั้นได้มีการรับมอบวัสดุอุปกรณ์ที่ได้จัดเตรียมมาเพื่อใช้ประโยชน์อันสูงสุดในการต่อสู้กับไวรัสโควิด -19 เสร็จสิ้นจากการมอบอุปกรณ์ ได้มีการอาราธนาพระสงฆ์ เพื่อถวายเพลและรับฟังธรรมเทศนาและประธานในพิธี ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล ได้ขึ้นจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นพระสงฆ์ได้สวดพระพุทธมนต์ ให้ศีลให้พรเป็นศิริมงคลในการประกอบสัมมาอาชีพก่อนเดินทางกลับ

       โครงการเสริมสร้างความผาสุกและความผูกพันในองค์กร สร้างกิจกรรมเสริมสร้างความผาสุกและความผูกพันต่อ องค์กรของบุคลากรคณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่ง จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร มีความรัก ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน และเอื้อต่อ การสร้างให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Organization) เกิด Knowledge Worker ซึ่งจะเป็นต้น ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ของสังคม ส่งผล ต่อความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ขององค์กรที่จะนำพา องค์การบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ได้อย่างยั่งยืนและ มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีอีกด้วย

   DSC0561

DSC0502

DSC0520

DSC0509

DSC0517

DSC0524

DSC0540

DSC0551                                       

        ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร.ปรีชาวุมิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการศิลปกรรมร่วมสมัยอาเซียน ตอน โควิด-19 ( The ASEAN Contemporary art workshop ) ในระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2564 ผ่านระบบ VDO Conference ผ่านทาง Zoom Application ซึ่งเป็นมาตรการเฝ้าระวังและเว้นระยะห่างการรวมตัวกันป้องการการแพร่ระบบจากไวรัส Covid – 19 ในขณะนี้

       สำหรับกิจกรรมในวันแรก (7 กันยายน 2564) ได้มีพิธีการเปิดผ่านทางระบบ Zoom Application ซึ่ง ผศ.ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีถึงความเป็นมาของโครงการ จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ประธานในพิธี ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและกล่าวเปิดงาน จากนั้นในเวลา 10.00 น.ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “ดุจปราการห้ามห่าอาเพศ: โรคระบาด อำนาจ และศิลปะ”วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.สายันห์  แดงกลม ส่วนในภาคบ่ายมีการบรรยายเรื่อง ผลกระทบจากโรคระบาดที่มีต่อวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน วิทยากรโดย นายปณชัย  ชัยจิรรัตน์ และนางสาวปุญญิศา  ศิลปะรัศมี ภัณฑารักษ์จาก NOIR ROW ART SPACE ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ภัทร คชภักดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร  ล่ามแปลโดย นายจอห์นมาร์ก  เบลลาโด

       สำหรับกิจกรรมในวันที่ 2 และ 3 ของงาน เป็นการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน (ตามสถานที่พำนักของศิลปิน) โดยศิลปินที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานตามหัวข้อของโครงการ คือ ตอน โควิด-19 พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด –19 ถึงความยุ่งยาก ความซับซ้อน การปรับตัว ตลอดจนสิ่งที่ต้องทำเมื่อต้องต่อสู้กับสถานะการณ์เช่นนี้

       วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม การสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมสมัยทางด้านศิลปกรรม ทั้งทัศนศิลป์และออกแบบ ด้านดนตรีและการแสดงจากประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งเครือข่ายประชาชาติอื่น ๆ จากนอกภูมิภาคอาเซียน จะเป็นการบูรณาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิชาการ ศิลปิน คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แนวคิด ทัศนคติในการสร้างสรรค์ ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบ วิธีหรือกระบวนการสร้างสรรค์ ที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ มีการนำเสนอที่แปลกใหม่ โดยกระบวนการและผลลัพธ์จากงานสร้างสรรค์เหล่านี้ก่อให้เกิดคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการ และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์และพัฒนาการของงานศิลปกรรมร่วมสมัยในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และนานาชาติ ที่สามารถนำมาบริหารจัดการด้านวิชาการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)ทั้งในรูปแบบของชิ้นงานในการสะสม(Art Collection) และโดยการบันทึกกระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปิน(Art Process Documentary) หรืออื่น ๆ เหล่านี้สามารถบริหารจัดการทั้งในระหว่างดำเนินกิจกรรมในโครงการ และหลังจากการดำเนินกิจกรรมในโครงการสิ้นสุดลงแล้ว ในรูปแบบของสื่อหรือฐานข้อมูลออนไลน์เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศสำหรับการคันคว้าวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคคลชุมชนและสังคมทั่วไป

LINEALBUM-19210909

19

02

10

13

20

23

26

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับผู้เข้าร่วมประกวดและสามารถฝ่าฝันชนะใจคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสามารถคว้าเหรียญทองมาได้ครองทั้งสิ้น 10 เหรียญในการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้อง ระดับชาติ (ระดับอุดมศึกษา) “เสริมประสบการณ์ สืบสานสังคีตศิลป์ไทย”

ตามที่วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดการประกวดเครื่องเดี่ยวดนตรีไทยและขับร้องนานาชาติ โครงการ 50 ปีดนตรีบ้านสมเด็จฯ งานวันคล้ายวันพิราลัย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ประจำปีพุทธศักราช 2564 ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งกิจกรรมมีการประกวดเครื่องดนตรีไทยประกอบด้วย กลุ่มซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย จะเข้ ขิม7หย่อง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก

สาขาวิชาดุริยาคศิลป์ ได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมประกวดแข่งขันและได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 10 รางวัล ประกอบด้วย

1.เดี่ยวซอสามสาย รางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 นายฐิติกิติ์ ไชยวงษา

2.เดี่ยวซอด้วง รางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 นายอนุสิทธิ์ มะโน

3.เดี่ยวขลุ่ยเพียงออ รางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 นายเอกรินทร์ อินทรบุญศรี  , รางวัลเหรียญทอง นางสาวสาวิตรี ธงภักดี

4.ขับร้อง รางวัลเหรียญทองอันดับ 2 นายวีระยุทธ สุเมธีศรีวงศ์ , รางวัลเหรีญทองอันดับ 3 นายจักรกฤษณ์ บุตรลักษณ์ ,

รางวัลเหรียญทอง นายสุทธิศักดิ์ โพธิ์ศรีชัย

5.เดี่ยวระนาดเอก รางวัลเหรีญทอง นายชิติภพ บำเหน็จพันธุ์

6.เดี่ยวระนาดทุ้ม รางวัลเหรียญทอง นายเทิดทูน แท่นทอง

7.เดี่ยวฆ้องวงเล็ก รางวัลเหรียญทอง นายกฤษฎา เหกระโทก

 01

02

04

03

05

06

08

07

10

09

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)