คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับ นางสาวชุติมา. ณ อุบล ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมเหรียญทอง และนางสาววรรณิสา ถามะนาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมเหรียญทองแดง ประเภทศิลปินใหม่ จากเวทีการประกวดจิตรกรรมUOB ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “ความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน (Solidarity)”
สำหรับแนวคิดของผลงานของนางสาวชุติมา ณ อุบลที่สร้างสรรค์ผลงานภายใต้ชื่อผลงาน “มื้ออาหารในปี 2020”คือ “การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่หรือ New Normal ที่ทุกคนต้องร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ภาพของกิจกรรมบนโต๊ะอาหารนี้เปรียบเสมือนบันทึกภาพจำของศิลปินถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและกิจวัตรที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย การฉีดสเปรย์แอลกอฮอลล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนหยิบอาหาร นักเรียนที่ต้องเรียนผ่าน Video Conference การถือกำเนิดของกาแฟสูตร Dalgona Coffee หรือการเล่นโซเชียลกับโลกภายนอกเพื่อแก้เหงาในช่วงกักตัว เหล่านี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมเพื่อร่วมใจผ่านพ้นสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ไปด้วยกัน”
และแนวความคิดการสร้างสรรค์ผลงานของนางสาววรรณิสา ถามะนาศาสตร์ ในการสร้างสรรค์ผลงานภายใต้ชื่อ “น้ำหนึ่งในเดียว”คือ “ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มักเกิดจากจุดเล็กๆ เสมอ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย คนไทยทุกคนต่างร่วมด้วยช่วยกันโดยเริ่มต้นจากการดูแลตัวเอง ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ แม้ในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดในประเทศไทยจะสร้างผลกระทบอย่างมาก หลายคนขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันเบื้องต้นอย่างหน้ากากอนามัย แต่ชาวบ้านตามชุมชนก็เย็บหน้ากากใช้กันเอง และยังแบ่งปันให้คนรอบข้างอีกด้วย รวมถึงตู้ปันสุขที่มีข้าวปลาอาหารและเครื่องใช้จำเป็นต่างๆ มาแบ่งปันกันในยามทุกข์ยาก เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เป็นแรงผลักดันให้ทุกคนมีกำลังใจต้านการระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี”
สืบเนื่องจากความร่วมมือระหว่างคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเรือนจำกลางขอนแก่นที่ได้มีความร่วมมือในการฝึกอบรมให้กับผู้ต้องขัง ชาย – หญิง ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีความสามารถพิเศษ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้านอีสาน วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำ เพื่อเป็นการฝึกวิชาชีพให้กับผู้ต้องขัง และเตรียมความพร้อมสำหรับการแสดงในกิจกรรมต่าง ๆตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ รวมทั้งสามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลังพ้นโทษ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ฯ จึงได้ส่งอาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาดนตรีและการแสดง แขนงวิชาดนตรีพื้นเมืองเข้าไปให้ความรู้และฝึกทักษะการแสดงในด้านต่าง ๆ ของการแสดงดนตรีพื้นบ้านอีสานแก่ผู้ต้องขัง ซึ่งนำทีมโดยอาจารย์วิชิต ภักดีรัตน์ นางสาวดวงฤทัย บุญสินชัย เป็นผู้นำที พร้อมด้วยนักศึกษาจำนวนกว่า 30 คน หมุนเวียนเพื่อฝึกซ้อมวิชาด้านต่าง ๆตามความถนัดของแต่ละคนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 11 กันยายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา
ด้านอาจารย์วิชิต ภักดีรัตน์ ได้กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากความร่วมมือดังกล่าวได้คัดเลือกและมีการรับสมัครผู้ต้องขังตามความสมัครใจว่าจะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรใด ซึ่งหลักสูตรที่เปิดสอนประกอบไปด้วย 1.หลักสูตรดนตรีการประพันธ์เพลงเรียบเรียงเสียงประสานและเทคโนโลยีดนตรี 2.หลักสูตรนาฏศิลป์และเต้นประกอบเพลง 3.หลักสูตรขับร้องและหมอลำ 4.หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องประดับสำหรับนักแสดง และ 5. หลักสูตรการแต่งหน้าและทำผมนักแสดง มีผู้ต้องขังทั้งชายและหญิงผ่านการอบรมต่าง ๆรวมทั้งสิ้น 329 คน
และในวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.30 น. ผู้บริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์ ฯ นำโดย ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี ผศ.ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผศ.ดร.กฤษฎา วงศ์คำจันทร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ อ.ดร.ภัทร์ คชภักดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ได้เดินทางเข้าร่วมพิธีมอบประกาศนียบัตรและแสดงผลงาน ณ อาคารอเนกประสงค์แดน 1เรือนจำกลางขอนแก่น โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีรัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานและมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรม จากนั้นได้ร่วมชมการแสดงจากผู้ต้องขังที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ และนำมาทำการแสดงรวมวง ซึ่งความรู้ความสามารถที่ผู้เข้าอบรมได้รับเหล่านี้ จะกลายเป็นพื้นฐานและทักษะอันสำคัญยิ่งในการนำไปประกอบอาชีพหลังจากพ้นโทษได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ด้วยแขนงวิชาบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์และนิทรรศการ หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ โดยมี ผศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ พร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 กับกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ประสบการณ์จริงทางธุรกิจ ในรายวิชา FA123502 การออกแบบการจัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการตลาด (Exhibition Design for Marketing Promotion) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การออกแบบ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนปฏิบัติการจัดนิทรรศการที่สามารถสื่อสารส่งเสริมการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค เน้นประสบการณ์ตรงทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ในระหว่างวันที่ 15 – 16 ตุลาคม 2563 “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI Digital Arts Hub)” ดร. สิริธร ศรีชลาคม รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์จนัธ เที่ยงสุรินทร์ ผู้อํานวยการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล ได้ให้การต้อนรับ อาจารย์จนัธ เที่ยงสุรินทร์ ได้ให้ข้อมูล วัตถุประสงค์ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ และงานด้านดิจิทัลอาร์ต ของนิสิต นักศึกษา นักวิจัย ศิลปินไทย และต่างประเทศ ตลอดจนบุคคลทั่วไปองค์ความรู้ด้านศิลปะ และเทคโนโลยีด้านดิจิทัล แบบสอดรับกับเทรนด์ดิจิทัล ความเข้าใจในศาสตร์ดิจิทัลอาร์ต เพื่อเร่งเสริมศักยภาพของบุคลากร เพิ่มโอกาสทางธุรกิจการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผสานกับผลงานศิลปะ ทำให้งานศิลปะเป็นดิจิทัลอาร์ตที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัลอาร์ต ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการประกวด และเวิร์กชอปต่าง ๆ “พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)” เป็นโครงการเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมนำเสนอหลักคิด วิธีการทรงงาน และกระบวนการค้นหาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และสอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy ที่มุ่งสร้างความสมดุลให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน “ป่าในกรุง” ศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้ชาวกรุงได้ตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนตลอดไปเป็นโครงการการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในที่ดินของ ปตท. โดยการนำพื้นที่รกร้างกว่า 12 ไร่ และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 เป็น“หจก.โนนไทยการป้าย” ด้านการออกแบบ-ตกแต่ง -Renovate สำหรับร้านค้า งานป้ายภายใน-ภายนอก ติดตั้งอักษรโลหะ กล่องไฟ แอลอีดี โดยคุณนพพร กาญจนบุญชู กรรมการผู้จัดการให้การต้อนรับพร้อมให้ข้อมูล “ไพรัชโฮมเดคอร์” ศึกษาวัสดุและแนวทางการออกแบบตกแต่ง ตลอดจนประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจวัสดุการตกแต่งก่อสร้าง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดประกวดศิลปะและการออกแบบ ล้านนาร่วมสมัย ปี 2563 "Art and Design Contest: Lanna Contemporary 2020 ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และประกาศนียบัตร ซึ่งเป็นการเปิดรับนักศึกษาที่มีความสามารถด้านการออกแบบในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 และ 4 จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยส่งผลงานในการคัดเลือกจากวีดีโอคลิป (Portfolio) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563ที่ผ่านมา และนักศึกษาวิชาเอกภาพพิมพ์ สายวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ผ่านเข้าสู่รอบการคัดเลือกและร่วมกัน Workshop สร้างสรรค์ผลงานลงพื้นที่กับชุมชน และรวมกลุ่มเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะกับเพื่อนๆนักศึกษาต่างสถาบัน ระหว่างวันที่ 5 – 11 สิงหาคม 2563 ประกอบไปด้วย 1.นายทศพล บุญมาน้อย 2.นางสาวภัทรนันท์ ชูศรีทอง 3.นางสาวสิริยากร เสมาภัคดี 4.นางสาววลัยพร ไชยสิด
และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดพิธีมอบรางวัลและเปิดงานแสดงนิทรรศการการประกวดศิลปะและการออกแบบ: ล้านนาร่วมสมัย ปี 2563 Art and Design Contest: Lanna Contemporary 2020 โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีและมอบรางวัลต่างๆให้กับผู้เข้าร่วมประกวดซึ่งผลการประกวดครั้งนี้นักศึกษาจากวิชาเอกภาพพิมพ์ สายวิชาทัศนศิลป์ มข.สามารถคว้ารางวัลมาครองได้อย่างภาคภูมิประกอบไปด้วยรางวัลชนะเลิศได้แก่นางสาววลัยพร ไชยสิด , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ นางสาวภัทรนันท์ ชูศรีทอง ,รางวัลพิเศษได้แก่นางสาวสิริยากร เสมาภัคดี และ รางวัลpopular vote และ รางวัลพิเศษจากศิลปินแห่งชาติ(อ.พิชัย นิรันดร์)ได้แก่นายทศพล บุญมาน้อย
สำหรับวัตถุประสงค์การจัดโครงการครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จากสถาบันการศึกษาด้านศิลปะทั่วประเทศ โดยให้นักศึกษามีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนองค์ความรู้ทางด้านการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมกับเพื่อนนักศึกษาต่างสถาบัน เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรมล้านนา ศึกษาแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานด้านทัศนศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และศิลปินล้านนา รวมถึงวิทยากรผู้มีประสบการณ์ทางด้านการสร้างสรรค์งานศิลปะมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกับนักศึกษาตลอดทั้งกิจกรรม
ขอขอบคุณภาพจาก Page facebook : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สาขาวิชาดนตรีตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดคอนเสิร์ต “TRUMPET LECTURE RECITAL ” และการบรรยาย เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการปฏิบัติการและวิชาดนตรีแก่ผู้ที่สนใจและเป็นการพัฒนาทักษะคณาจารย์ตลอดจนนักศึกษา โดยอาจารย์อ้น ดร.สุรสีห์ ชานกสกุล ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 12 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 – 17.00 น. ที่ผ่านมามีนักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียนทั้งในและนอกจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางด้านดนตรีเข้าร่วมอย่างมากมายเพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดทางด้านดนตรีที่สนใจให้มีศักยภาพเพิ่มยิ่งขึ้น