คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความชื่นชม และยินดีกับ อาจารย์สุรศักดิ์ สอนเสนา อาจารย์สายวิชาทัศนศิลป์และออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาประติมากรรม ในการคว้ารางวัลบนเวทีการประกวดศิลปกรรม ปตท.ครั้งที่ 35 ภายใต้หัวข้อ “เมืองเล็ก เมืองใหญ่ หายใจเต็มปอด ” ในระดับประชาชนทั่วไป คว้าเงินรางวัล 200,000 บาทและรับสิทธิไปทัศนศึกษาต่างประเทศ
การประกวดศิลปกรรม ปตท.ครั้งที่ 35 ครั้งนี้ได้ดำเนินการเปิดรับผลงานระหว่างวันที่ 1-7 มิถุนายน 2563 และมีการตัดสินการประกวดในวันที่ 14 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจากทุกภาคทั่วประเทศไทย มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและมากด้วยประสบการณ์เป็นผู้คัดเลือกและตัดสินผลงานจำนวน 11 ท่าน ประกอบไปด้วย ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี อาจารย์ธงชัย รักปทุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง ศาสตราจารย์เกียรติพิษณุ ศุภนิมิต ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ นายระยอง ยิ้มสะอาด ดร.สังคม ทองมี อาจารย์พีระพงษ์ ดวงแก้ว แลผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากผลงานของอาจารย์สุรศักดิ์ สอนเสนา ที่ส่งเข้าร่วมประกวดมีความโดดเด่นในหลายมุมมอง และตรงกับแนวคิดของหัวข้อที่ให้มา คณะกรรมการจึงมีความเห็นให้ผลงานชื่อ ”ห่มเมือง(ขอนแก่น)” ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ระดับประชาชนทั่วไป
สำหรับการจัดประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 35 ประจำปี 2563 กำหนดจัดประกวดในหัวข้อ “เมืองเล็ก เมืองใหญ่ หายใจเต็มปอด” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจทุกระดับได้ช่วยกันสร้างธรรมชาติเมืองไทยในจินตนาการผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสื่อสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมให้ชุมชนเมืองได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ทั้งนี้ เมืองที่มีความทันสมัยนั้นมักจะแลกมาด้วยสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายเสมอ อย่างไรก็ดี ธรรมชาติก็ไม่จำเป็นจะต้องหำได้เพียงในป่าเขา เพราะธรรมชาติเมืองล้วนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา
กองบริหารงาน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ Digital ID เพื่อนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้งานในระบบสารบรรณตามแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุมดอกศิลป์ 1เวลา 9.00 – 12.00 น.
ก่อนเริ่มการอบรม ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับทีมวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายธัญญา ภักดี ผู้อำนวยการกองบริหารงานกลางมาเป็นวิทยากรให้ความรู้และแนวคิดในการใช้งาน Digital ID พร้อมทั้งการปฏิบัติงานที่ต้องทำให้ถูกขั้นตอนตามระเบียบของงานสารบรรณระบบดิจิทัล และมีผู้ช่วยวิทยากรจากกองบริหารงานกลางมาให้ความช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความรู้ประกอบด้วย นายภาสพันธ์ จิโนทา นักวิชาการโสตทัศนศึกษาและ นางจุฑารัตน์ คำหวาน นักจัดการงานทั่วไป
"เครื่องหมายรับรองมาตราฐานและตราสัญลักษณ์"เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่ได้มาตรฐาน รับรองคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ อัตลักษณ์เฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น สู่เศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต พื้นที่บ้านกง จังหวัดขอนแก่น
โครงการออกแบบเครื่องหมายรับรองมาตรฐานและตราสัญลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน พื้นที่บ้านกง ภายใต้โครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยความร่วมมือ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง นายโยธิน ศรีหนองเม็ก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง สำนักบริการวิชาการ นายบัญชา พระพล รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทีมนักออกแบบ อาจารย์และนักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรม บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์และนิทรรศการ หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน กิจกรรมดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน เป้าหมายการออกแบบเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นที่บ้านกง เพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่ได้มาตรฐาน รับรองคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ สู่เศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต โดยออกแบบเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ภายไต้ชื่อ สินค้าคุณภาพบ้านกง(BANKONG QUALITY) และตราสัญลักษณ์โลโก้ ที่ช่วยสร้างอัตลักษณ์เฉพาะสินค้าชุมชน ทั้งหมด 10กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า ได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ปลาแห้งคุณสา 2.กลุ่มดอกไม้จันทน์ นิรันทร์ 3.กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย เพียงใจ 4. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหมู ฟันฟัน 5.กลุ่มพวงมาลัย มาลัยลี่ 6.กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ดินไทย แมกไม้ดินไทย 7.กลุ่มผลิตภัณฑ์ปลา แม่หนุ่ย 8.กลุ่มผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาถัก หนูดี 9.กลุ่มผลิตภัณฑ์จากไหมพรม อารมณ์ดี และ10.กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย โฮมลี่ กรอบเวลาการดำเนินงาน 3 ระยะ สร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยระยะที่ 1 วันที่ 23 มกราคม 2563 ลงพื้นที่ตำบลบ้านกงเก็บข้อมูลพื้นฐาน สัญลักษณ์ อัตลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น ทั้งด้านบริบทพื้นที่ ความต้องการ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชน ระยะที่2 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานและตราสัญลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ระยะที่3 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบ เพื่อคัดเลือกเครื่องหมายรับรองมาตรฐานและตราสัญลักษณ์ และวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ส่งมอบเครื่องหมายรับรองมาตรฐานและตราสัญลักษณ์
เช้าวันนี้ (วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2563 ) เวลา 09.00 น. ณ โรงละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รศ.เพียรศักดิ์ ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวิทยาเขตหนองคายอาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ผศ.ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหมผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย ผศ.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ นางณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ดร. กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ได้เข้าเยี่ยมและรับฟังผลการดำเนินงานด้านต่างๆจากทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี พร้อมด้วยทีมผู้บริหารคณะฯ หัวหน้าสายวิชา และบุคลากรเข้าให้การต้อนรับ
จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล ได้กล่าวรายงานถึงผลการดำเนินงานในการบริหารงานที่ผ่านมาในด้านต่างๆ รวมถึงมาตรการ การดำเนินงานด้านการเรียนการสอนช่วงไวรัสโควิด-19 ซึ่งกำลังระบาดช่วงนี้ ซึ่งทางคณะฯได้จัดความพร้อมเตรียมรับมือและสนับสนุนความรู้แก่อาจารย์ในการพัฒนาสื่อ วิธีการสอน ผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นในช่วงท้าย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ได้เดินเยี่ยมชมความพร้อมในการจัดทำห้องเรียน Smart Classroom เพื่อให้บริการอาจารย์ในการเรียนแบบออนไลน์ หรือเรียนรู้ผ่านระบบ e-Learning
เช้าวันนี้ (27 เมษายน 2563) เวลา 9.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนัชพร กิตติก้อง อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปะการแสดง รับรางวัล Best presentation award ในงานประชุม Progress for success นักวิจัยรุ่นใหม่ทุนปี 61-62 ณ โรงละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยมี ศ.ดร.โสพิศ วงศ์คำ และ ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง โค้ช สกว.ในโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่เป็นผู้มอบรางวัล พร้อมทั้งได้มีสักขีพยานในการรับมอบประกอบไปด้วย ผศ.วิจิตร วินทะไชย รองคณบดีฝ่ายบริหาร รศ.ดร.จตุพร สีม่วง รองคณบดีฝ่ายการศึกษา อ.พชร อัคพราหมณ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รศ.ธรณัส หินอ่อน หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีและการแสดง
ทุนวิจัยที่ได้รับครั้งนี้เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System กลุ่ม 6 ภาคอีสาน หรือใช้ชื่อย่อว่า MM S6 ภาคอีสาน ได้จัดประชุมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้างานวิจัย (Progress for success) ของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ได้รับทุน จาก สกสว. ปี 2562-2563 จำนวน 77 คน วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ในระบบออนไลน์ โดยแบ่งตามสาขาวิชา ดำเนินการพร้อมกันทั้ง 5 ห้อง ซึ่ง ผศ.ดร.ธนัชพร กิตติก้อง ได้อยู่ในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาผลงานวิจัยประกอบด้วย
1) ศ.ดร. ปฐม หงษ์สุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส.
2) รศ.ดร ดุษฎี อายุวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.
3) ผศ.ดร. ทรงกรด พิมพิศาล (Chairman) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มกส.
จากผลการพิจารณาผลงานวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ได้มีมติให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนัชพร กิตติก้อง ได้รับรางวัล Best presentation award ประจำกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ ขอชื่นชมและแสดงความยินดีกับผลงานและความสำเร็จในครั้งนี้