Open menu

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาเครือข่ายการประกันคุณภาพคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ พร้อมทั้งร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ  ระหว่างวันที่ 5-6 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ 7 คณะจาก 5 สถาบัน ประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในพิธีเปิดการสัมมนาได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานในพิธีเปิด จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวรายงานถึงความเป็นในการจัดงานต่อประธาน บรรยากาศภายในงานได้มีการบรรยายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาต่อสถานการณ์การศึกษายุคปัจจุบัน โดย ผศ.เสาวลักษณ์ สุขประเสริฐ ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA Assessor) ในภาคเช้า และในภาคบ่ายได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาระในด้านต่างๆ 5 กลุ่ม

และในช่วงเช้าวันที่ 6 มีนาคม 2563 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญของความร่วมมือกล่าวคือ

๑. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะร่วมกันเป็นเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบัน

                ๒. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                ๓. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะกำกับดูแลให้องค์กรนิสิตนักศึกษาทุกแห่งทำบันทึกความตกลงร่วมมือสร้างเครือข่ายในการพัฒนากิจกรรมนิสิตนักศึกษาที่มีคุณภาพตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา

                ๔. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะร่วมมือกันให้นักศึกษาทุกสถาบันการศึกษา คณะวิชาร่วมกันเป็นเครือข่ายนักศึกษาสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาที่มีคุณภาพตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษา คณะวิชาในเครือข่าย

                ๕. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะร่วมมือกันให้นักศึกษาร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                ๖. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะร่วมมือกันให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่จัดโดยสถาบันการศึกษา คณะวิชาในเครือข่าย

                ๗. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะติดตาม ประเมินผลการสร้างเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

                ๘. สถาบันการศึกษา คณะวิชาทุกแห่งจะร่วมมือกันจัดกิจกรรมอื่นๆที่จะส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

 DSC0163

DSC0154

DSC0185

DSC0189

DSC0211

DSC0202

DSC0157

DSC0250

DSC0262

DSC0467

DSC0470

DSC0472

DSC0481

 

 

 

 

 

 

    

       ในระหว่างวันที่ 4 – 18 กุมภาพันธ์  ได้จัดกิจกรรมปฏิบัติการเชิงพื้นที่ห้องเรียนชุมชน(Social Lab) การบูรณาองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมี ผศ.ดร.ดวงจันทร์  นาชัยสินธุ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ นำนักศึกษาแขนงวิชาบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์และนิทรรศการ ชั้นปีที่ 2และชั้นปีที่ 3  ร่วมพัฒนาทักษะสำคัญที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21 ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ แหล่งปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน ซึงชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สถานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ (Social Lab) ให้เกิดการบูรณาการกิจกรรมร่วมกันในการจัดการเรียนการสอน เป็นรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในสถานศึกษาร่วมกับชุมชน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในรูปแบบของทักษะชีวิต ทักษะสังคม (Socialization) ความรู้และความสามารถเชิงบูรณาการ ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ รวมถึงการร่วมสร้างนวัตกรรมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ  โดยกิจกรรมวันที่ 4  กุมภาพันธ์ 2563 เป็นปฏิบัติการ กิจกรรมการผลิตดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา การต่อยอดแนวคิดสร้างความแตกต่างการสร้างมูลค่าเพิ่ม รูปแบบของดอกไม้จากกระดาษสา  สไตล์ยุโรปและสไตล์อเมริกา ส่งออกสหรัฐอเมริกา ซึ่งสินค้าอยู่ในระดับ High Quality และเป็น Good price โดย คุณมาณี ตันศรีประเสริฐ ณ บริษัท สยาม เอ็ม แฮนดิคราฟท์  กิจกรรมวันที่ 6  กุมภาพันธ์ 2563 เป็นปฏิบัติการ กิจกรรมทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ชุมชน การออกแบบทดลองลวดลายใหม่และแบบดั้งเดิม เป็นการทอขึ้นลายพื้นฐานการทอผ้าแบบอีสาน โดย ผศ.ดร. วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมวันที่ 8  กุมภาพันธ์ 2563 กิจกรรมปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนศิลาโฮมสเตย์  กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนศิลาโฮมสเตย์  การย้อมสีจากธรรมชาติการทำของที่ระลึกธุงใยแมงมุม โดยคุณสังคม ปานิคม (ประธานกลุ่ม)พร้อมทีมศิลาโฮมสเตย์ และกิจกรรมวันที่ 18  กุมภาพันธ์ 2563 เป็นกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการออกแบบ-ตกแต่ง -Renovate สำหรับ การจัดนิทรรศการ เป็นงานป้ายภายใน-ภายนอก ติดตั้งอักษรโลหะ กล่องไฟ แอลอีดี โดยคุณนพพร กาญจนบุญชู กรรมการผู้จัดการ หจก.โนนไทยการป้าย

2

3

7

9

11

17

19

24

25

       คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านศิลปกรรม หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Art Lane ในปีนี้ได้มีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 ระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บริเวณสะพานขาว ด้านข้างอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ กิจกรรมภายในงานเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานด้านศิลปะในแขนงต่างๆ เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ออกแบบนิเทศศิลป์ ทางด้านดนตรีไทย ดนตรีสากล ดนตรีพื้นเมือง นาฏยศิลป์ ภาพยนตร์ การแสดงของภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมไปถึงการออกร้านสินค้าทำมือและกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ประกอบด้วย การสาธิตการแสดงดนตรี การวาดเส้นภาพเหมือนบุคคล การปั้นภาพเหมือนบุคคล การปฏิบัติงานดินเผา การปฏิบัติงานภาพพิมพ์ การปฏิบัติงานภาพสีน้ำมัน การแสดงภาพถ่าย การแสดงโชว์จากบ้านชีวาศิลป์ และอื่นๆอีกมากมาย

       ในกิจกรรมได้มีผู้บริหารจากทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมงานครั้งนี้ได้แก่ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผศ.ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา

       ก่อนเริ่มพิธีเปิดงานได้มีการแสดงจากนักศึกษาสาขาดนตรีและการแสดง การแสดง flash mob Dance โดยนักศึกษาวิชาเอกการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์เมื่อเวลา 18.45 น.ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น   เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับการกล่าวรายงานถึงความร่วมมือในการจัดงานถนนศิลปะครั้งที่ 17 โดย ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จากนั้นได้มอบของที่ระลึกให้กับประธานในพิธี พร้อมทั้งเครือข่ายความร่วมมือ แขกผู้มีเกียรติ ผู้สนับสนุน และได้ร่วมกันถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

       รศ.ดร.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี ได้กล่าวว่า คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการถนนศิลปะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 17  แล้วนั้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งเน้นในการนำความเป็นวิชาการ จากชั้นเรียนลงมาสู่ท้องถนน เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในทุกแขนงและทุกรูปแบบ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้การสนับสนุนโครงการเนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างพื้นที่สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่ส่งเสริมและเพิ่มคุณค่าของงานศิลปะ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ทางวิชาการสร้างสรรค์ โดยการเชิญภาคีเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมของภูมิภาคอย่างจริงจัง

       ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีตอนหนึ่งว่า  การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผู้สนับสนุนจากหลากหลายหน่วยงาน อีกทั้งความร่วมมือจากคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และศิษย์เก่าเป็นอย่างดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านศิลปกรรมของนักศึกษา คณาจารย์ นักคิด นักสร้างสรรค์ที่ผ่านการศึกษา วิจัย บูรณาการองค์กรความรู้ด้านศิลปกรรม นำมาสู่การแสดงผลงานที่เรียกว่าวิชาการข้างถนน

       ด้านอาจารย์ ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ประธานในการจัดงานครั้งนี้ได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า  ภาพกิจกรรมโดยรวมของการจัดงานในครั้งที่ 17 ปีนี้ รูปแบบของการจัดกิจกรรมยังคงไว้ซึ่งแนวคิดที่ว่าวิชาการข้างถนนแต่ที่ได้เพิ่มเติมในปีนี้คือ สร้างcontent ตามช่วงวาเลนไทน์ เช่น การเขียนความรู้สึกบางสิ่งบางอย่างลงไปโดยผ่านการเขียน ปีนี้เป็นอาเซียน ได้เชิญพันธมิตรเครือข่าย 27 สถาบัน และที่เพิ่มอีก 2 ประเทศใหม่คือ จีนและอียิปต์ ซึ่งหมายความถึงการนำผลงานวิชาการไม่ว่าจะเป็นตำรา งานวิจัย ผลงานที่อยู่ในชั้นเรียน คนโดยทั่วไปจะมองดูว่ามันยาก ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายจึงมีแนวคิดทำให้มันง่ายต่อความเข้าใจให้ผู้คนทั่วไปสามารถรับรู้และสัมผัสและเข้าใจได้โดยง่ายในความสุนทรีย์โดยดึงผลงานวิชาการนั้นลงมาจัดแสดงไว้ที่ข้างถนน คำว่า “ ข้างถนน “ จึงเปรียบเทียบได้ง่ายๆซึ่งเปรียบเสมือน ร้านอาหารข้างทาง (Street Food)ตามวัฒนธรรมการกินของไทยเราที่มีให้เลือกบริโภคได้หลากหลายตามความต้องการ ในปีนี้ได้เชิญเครือข่ายที่มีการเรียนการสอนในงานสร้างสรรค์ ในคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมแสดงในกิจกรรมครั้งนี้

 DSC0919

DSC0899

DSC0997

DSC0840

DSC1005

DSC0999

DSC0085

DSC1013

DSC0002

DSC0021

DSC0045

DSC0037DSC0059

DSC0061

DSC0063

 

 

 

       สายวิชาดุริยางคศิลป์ สาขาวิชาดนตรีตะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการบริการวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ดนตรีบำบัดสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัวระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ 

       สำหรับวิทยากรที่ให้ความรู้ครั้งนี้คือ Professor Dr. Amelia Oldfield เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีบำบัดจากประเทศอังกฤษ ด้วยประสบการณ์ในการทำงานดนตรีบำบัดทางคลินิกในเคมบริดจ์ กว่า 37 ปี และเป็นสมาชิกของสถาบันวิจัยดนตรีบำบัดเคมบริดจ์ (CIMTR) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ในกิจกรรมครั้งนี้ได้มีฝึกปฏิบัติการเชิงทดลอง การใช้ดนตรีในรูปแบบต่างๆ ตลอดทั้งการบรรยายดนตรีบำบัดสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กระบวนการของดนตรีบำบัด ฝึกปฏิบัติการเชิงทดลอง การใช้ดนตรีสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม โดย Professor Amelia Oldfield และมีอีกหลากหลายกิจกรรม

       ดนตรีบำบัดเป็นการบำบัดรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อการพัฒนาสุขภาวะของเด็ก ด้วยการประยุกต์ใช้ดนตรีอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนการบำบัด การจัดกิจกรรม และประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ได้รับการบำบัด ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพด้านต่าง ๆ ของผู้ได้รับการบำบัดอย่างยั่งยืน มีรายงานการวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ดนตรีบำบัดสามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของเด็กได้ ทั้งในด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ของเด็กและคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น โดยผ่านการใช้กิจกรรมดนตรีบำบัดที่หลากหลายซึ่งนักดนตรีบำบัดจะมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศที่ดีมีความสนุกสนาน โดยไม่ได้กดดันหรือคาดหวังกับผลที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก จึงทำให้กระบวนการในการบำบัดเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเหมาะสมกับในเด็กแต่ละคน เมื่อเด็กได้แสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีพัฒนาการต่าง ๆ ที่แสดงออกมาให้เห็นแม้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย แต่เมื่อผู้ปกครองได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเหล่านั้นแล้ว จะทำให้ผู้ปกครองเกิดความภูมิใจในบุตรหลานของตนว่าสามารถทำในสิ่งต่าง ๆ ได้ ทั้งยังทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการร่วมในกิจกรรมดนตรีบำบัด จนกระทั้งผู้ปกครองอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมดนตรีบำบัดอย่างเต็มใจ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญมากในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 875415478917507312849457937182842423869440o

875604858917509946182523612395575602839552o

IMG5741

IMG5756

876661028917511812849004610161163303387136o

 

       อาจารย์กิตติชัย ตรีรัตน์วิชา ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ส่งมอบงานประติมากรรมภาพเหมือนหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา ให้กับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นดูแลรักษาและจัดเป็นสถานที่ให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมรำลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อฯ ที่ได้ทำแก่บ้านเมือง

       ในพิธีส่งมอบประติมากรรมภาพเหมือนหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธีเป็นผู้รับมอบ พร้อมทั้งยังมีสักขีพยานในการรับมอบครั้งนี้ประกอบด้วย รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษกิจสร้างสรรค์ ผศ.เขม เคนโคก ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีและทีมผู้บริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์ บุคลากร เป็นต้น

       อาจารย์กิตติชัย ตรีรัตน์วิชา เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เป็นประติมากรที่โด่งดัง ปั้นผลงานประติมากรรมที่สำคัญๆอย่างมากมาย อาทิเช่น การได้ทำงานสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่มีพระราชประสงค์ให้จัดสร้างพระบรมรูปขณะพระองค์ “ทรงงาน” เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ คลองลัดโพธิ์ ระหว่างสะพานภูมิพล 1 กับสะพานภูมิพล 2 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งผลงานประติมากรรมการปั้นพระบรมรูปครึ่งพระองค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่อนุสรณ์สถาน ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังเป็นผู้สร้างรูปปั้นหลวงพ่อพุธ ฐานิโย และ หลวงปู่เสาร์ ที่นครราชสีมา, รูปเหมือนสมเด็จโต พรหมรังสี ที่วัดเกษไชโย อ่างทอง, อนุสาวรีย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ที่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี, พระพุทธ รัตนมงคลสัมฤทธิ์ที่สิงห์บุรี และอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ชลบุรี

DSC0762

DSC0795

DSC0786

DSC0782

DSC0789

DSC0769

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)