Open menu

                คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันภาคีเครือข่ายจำนวน  28 สถาบัน จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2563 “โลกเปลี่ยน ศิลป์ เปลี่ยนโลก” Transformation หรือ FAR 6 ในวันที่ 28 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นการจัดการประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกัน สำหรับในปีนี้เป็นการจัดในรูปแบบ Social distancing (การเว้นระยะห่างทางสังคม) เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส Covid – 19  ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วโลก เป็นการประชุมผ่านระบบ VDO Conference ผ่านทางโปรแกรม Zoom และ ถ่ายทอดสัญญาณสดการบรรยายผ่านทาง Facebook พร้อมทั้งสื่อออนไลน์ต่าง ๆ  ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาคเช้ามีพิธีเปิดการประชุมเริ่มในเวลา 9.00 น. ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นประธานในพิธีเปิดงาน จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดงาน ต่อด้วยการปาฐกถาพิเศษและการเสวนา เรื่อง “โลกเปลี่ยน ศิลป์ เปลี่ยนโลก” โดยศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต สาขาวิชานาฎกรรม สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.จตุพร สีม่วง

ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์  ได้กล่าวว่า การจัดงานประชุมในครั้งนี้เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติตลอดทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและเป็นการสร้างนักวิจัยใหม่ทางด้านศิลปะ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา 29 แห่ง ประกอบไปด้วย  1.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  2.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  3.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  4.คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม5. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  6.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  7.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี 8.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร  9.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ          10.คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  11.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์   12.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  13.ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น   14.วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์           15.คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  16.คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 17.ประธานหลักสูตรสาขาการจัดการทางวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  18.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  19.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  20.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม  21.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด  22.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์             23.คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  24.คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  25.คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม           26.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 27.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 28.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 29. สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

                จากนั้นในภาคบ่ายได้มีการแบ่งห้องประชุมย่อย 4 กลุ่มโดยมีการประชุมผ่านทางโปรแกรม Zoom และเว็บไซต์การประชุม https://far.kku.ac.th  ประกอบไปด้วยกลุ่มทัศนศิลปและการออกแบบ มีผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มคือ ศาสตราจารย์สุชาติ  เถาทอง และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรัช  สุดสังข์ กลุ่มสาขาดนตรีและการแสดง ผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มคือ ศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด  กิจขันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรี กลุ่มสาขาวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิคือ ศาสตราจารย์สันติ  เล็กสุขุม และ รศ.ดร.นิยม  วงศ์พงษ์คำ และกลุ่มนานาชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิคือ Dr.Dylan Eugene  Southard สิ่งหนึ่งที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทั้งภาคีเครือข่ายได้มีแนวความคิดเห็นร่วมกันในการจัดเวทีนำเสนอผลงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขึ้นเพื่อนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติพร้อมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างนักวิจัยใหม่ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์และเป็นช่องทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ

 

 

 

 





 

 

 

รายละเอียดตำรา : การแสดง/Performance: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์มานซ์

ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนัชพร กิตติก้อง

เนื้อหาโดยสังเขป

ตำราเล่มนี้ว่าด้วยเรื่อง เพอร์ฟอร์มานซ์ (Performance) โดยคำนี้มักถูกใช้อธิบายถึงการแสดงในภาพรวมของงานศิลปะการแสดง ซึ่งแต่ในปัจจุบันถูกยกขึ้นเป็นกระบวนทัศน์อันเกี่ยวเนื่องกับการเกิดขึ้นและตั้งอยู่ของการแสดง หรือ “กระบวนการการแสดง” โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของมนุษย์เพียงเท่านั้น และเป็นองค์ความรู้ที่ยึดโยงกับพื้นฐานในการสร้างสรรค์และทดลองของศิลปะการละครที่ได้รับอิทธิพลจากการแสดงศึกษา (Performance Studies) และแนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่ หรือ โพสต์โมเดิร์น (Postmodern) ตลอดช่วงปลายศตวรรษ ที่ 20 เนื้อหาในตำราประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของละครสู่การแสดง, ละครในกรอบแนวคิดต่าง ๆ, คุณลักษณะและคุณสมบัติของเพอร์ฟอร์มานซ์, การสร้างสรรค์ วิเคราะห์ และวิจัยการแสดง นับได้ว่า ตำราเล่มนี้เป็นตำราเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์มานซ์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งด้านวิวัฒนาการ, องค์ความรู้ และแนวความคิดที่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้จริง เหมาะสำหรับนักศึกษาและผู้สอนด้านศิลปะการแสดง และเป็นตำราที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์มานซ์ในแวดวงวิชาการด้านศิลปะการแสดง/การละคร เล่มแรกของประเทศไทย

ISBN : 978-616-438-498-9

จำนวนหน้า : 213 หน้า/ ภาพประกอบ/ พิมพ์สี

TAGS : การแสดง,ศิลปะการแสดง, ศิลปะการแสดงสด, ละคร

ราคา pre-order (24 ส.ค. – 9 ก.ย. 63) :

จำนวนที่สั่งซื้อ

(เล่ม)

จำนวนที่ลด

(%)

ราคาขายโปรโมชั่น

(บาท/เล่ม)

หมายเหตุ

1 เล่ม

5%

350

ยังไม่รวมค่าจัดส่ง

2-9 เล่ม

10%

330

10 เล่มขึ้นไป

15%

310

*ฟรีค่าจัดส่ง

 

สั่งซื้อได้ที่ : ติดต่อ คุณอรจิรา หัตถพนม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ โทร 043-202396

หรือ สแกนสั่งซื้อหนังซื้อที่ QR Code (ในโปสเตอร์)

 

 

รายละเอียดตำรา : ดนตรีพื้นเมืองขั้นแนะนำ (Introduction to Folk Music)   

ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หิรัญ จักรเสน

เนื้อหาโดยสังเขป

ตำราเล่มนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของดนตรีพื้นเมือง การจำแนกประเภทเครื่องดนตรีพื้นเมือง ประวัติและชนิดของเครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทย รวมถึงชนชาติในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น อเมริกาเหนือ กลาง และใต้ แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลียและโอเชียเนีย และเอเชีย องค์ประกอบและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบโน้ต บทเพลงและอารมณ์เพลง ตลอดจนแบบฝึกปฏิบัติทักษะการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและขับร้องเพลงพื้นเมืองอีสานขั้นพื้นฐาน   

ISBN : 978-616-438-119-3

จำนวนหน้า : 157 หน้า/ ภาพประกอบ/ พิมพ์ขาวดำ

TAGS : ดนตรีพื้นเมือง, ดนตรี

ราคา promotion ครบรอบวันสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ 26 ปี (24 ส.ค. – 13 ก.ย. 63) :

บุคคล

จำนวนที่ลด

(%)

ราคาขาย

(บาท/เล่ม)

หมายเหตุ

-   บุคคลทั่วไป

-

200

 

ไม่รวมค่าจัดส่ง

 

-   นักศึกษา

-           

180

-   รวมกลุ่ม 10 เล่มขึ้นไป

25%

160

 

สั่งซื้อได้ที่ : ติดต่อ คุณอรจิรา หัตถพนม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ โทร 043-202396

หรือ สแกนสั่งซื้อหนังซื้อที่ QR Code (ในโปสเตอร์)

 

       คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จัดทำโครงการศิลปกรรมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสู่อีสานเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในระหว่างวันที่14-17 สิงหาคม 2563 มีกลุ่มศิลปินจากหลายประเทศเข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย เวียดนามและจีน ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS (The Greater Mekong Subregion)

       วันแรกของกิจกรรม(14 สิงหาคม 2563) เวลา 9.00 น.ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ แสงอรุณ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของโครงการ

       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล กล่าวว่า “การจัดทำโครงการศิลปกรรมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสู่อีสาน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อได้มีโอกาสเปิดพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะร่วมสมัยและเผยแพร่นำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินในภาคอีสานกับศิลปินประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงออกสู่สาธารณะชนในระดับภูมิภาคอย่างกว้างขวาง ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทักษะในการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เกิดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างศิลปินในภาคอีสานกับศิลปินอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นำไปสู่การเป็นเครือข่ายทางด้านศิลปกรรมที่มีความเข้มแข็ง และเป็นการประยุกต์งานทางด้านศิลปะมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจทางด้านสังคม วัฒนธรรมประเทศประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิจิตร วินทะไชย รองคณบดีฝ่ายบริหาร และประธานดำเนินงาน ได้ให้ข้อมูลเสริมว่า ผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 170 คน ประกอบด้วยศิลปินจากกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ มีจำนวน 51 คน ศิลปินไทยจากสถาบันเครือข่ายศิลปะและศิลปินอิสระจำนวน 59 คน นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันเครือข่ายจำนวน 50 คน โดยทั้งหมดจะได้ร่วมกันปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะและร่วมกันแสดงนิทรรศการผลงาน

       และในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 เป็นวันสุดท้ายของโครงการได้มีการรวบรวมผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของกลุ่มศิลปินเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ โดยมีพิธีเปิดในเวลา 17.00 น. ก่อนเริ่มงานได้มีการแสดงในชุด “ดุริยานาฏศิลป์ ถิ่นลุ่มน้ำโขง” จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิจิตร วินทะไชย รองคณบดีฝ่ายบริหารได้กล่าวรายงานต่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ประธานในพิธี และประธานได้ให้การกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติภายในงานและกล่าวขอบคุณศิลปินพร้อมทั้งตัดริบบิ้นเพื่อเปิดนิทรรศการและร่วมกันถ่ายภาพหมู่เพื่อเป็นที่ระลึก จากนั้นได้เดินเยี่ยมชมผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินที่ได้ถ่ายทอดผลงานลงสู่ผืนผ้าใบตามวิธีการ แนวคิด กระบวนการ จินตนาการของศิลปิน

       การจัดนิทรรศการครั้งนี้ผู้ที่สนใจเสพในผลงานศิลปะ สามารถเข้าเยี่ยมชมผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่31 สิงหาคม 2563 ในวันและเวลาราชการ ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 DSC0833

DSC0842

DSC0845

DSC0836

DSC0854

DSC0860

DSC0868

DSC0878

DSC0906

DSC0919

 

       เช้าวันนี้ วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 8.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และอาจารย์ ดร.ภัทร์ คชภักดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ได้เดินทางไปยังคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริเวณลานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อวางพานพุ่มเนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

                ตามที่กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดดำเนินการโครงการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมนันทนาการในเด็กและเยาวชน งานมหกรรมดนตรีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมทุนการศึกษา วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ส่งวงโปงลางเข้าร่วมชิงชัยในครั้งนี้และเป็น 1 ใน 5 วงที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งวงที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทั้ง 5ในรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ประกอบด้วยวงโปงลางสายแนนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา  วงศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม วงศิลป์ลำปาว สาวผู้ไท วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และ วงคนอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย

                และในวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการประกวดแข่งขันดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ชิงถ้วยพระราชทานฯ งานมหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน ประจำปี 2563 ณ ลานหน้าห้างเสริมไทยคอมเพล็กซ์ จังหวัดมหาสารคาม คณาจารย์แขนงวิชาดนตรีพื้นเมือง และคณาจารย์แขนงวิชานาฎยศิลป์อีสาน ผู้ฝึกซ้อมและควบคุมวงได้นำเหล่านักศึกษาสาขาวิชาดนตรีและการแสดง แขนงวิชานาฎยศิลป์อีสาน และแขนงวิชาดนตรีพื้นเมืองจำนวน 35 คน เข้าสู่การแสดงในรอบชิงชนะเลิศในชุด “เชิญขวัญพระพันปี เทวนารี น้อมถวยพระพร” เป็นการแสดงเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

                ผลการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ตัดสินให้วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมทุนส่งเสริม 60,000 บาท และสามารถคว้าถ้วยรางวัลในรางวัลต่างๆประกอบด้วย รางวัลบรรเลงโปงลางดีเด่น ได้รับถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา พร้อมทุนส่งเสริม 3,000 บาท  รางวัลบรรเลงกลองดีเด่น ได้รับถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา พร้อมทุนส่งเสริม 3,000 บาท  รางวัลกั๊บแก๊บดีเด่น ได้รับถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา พร้อมทุนส่งเสริม 3,000 บาท รางวัลการแสดงวิถีชีวิตถิ่นอีสานดีเด่น ได้รับถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา พร้อมทุนส่งเสริม 3,000 บาท  รางวัลบรรเลงซออีสานดีเด่น ได้รับถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา พร้อมทุนส่งเสริม 3,000 บาท ซึ่งรุ่นประเภทอายุไม่เกิน 25 ปีนี้ ก็ไม่ทำให้ผิดหวังเช่นเดียวกับรุ่นเล็ก โชว์ความสามารถจนสามารถคว้าระดับความสามารถ เหรียญ ทอง ได้รับโล่ที่ระลึก และทุนส่งเสริมระดับความสามารถ 30,000 บาท ไปครองทุกๆวง

                สำหรับแนวคิดในการจัดการแสดงชุด “เชิญขวัญพระพันปี เทวนารี น้อมถวยพระพร” ในการประกวดครั้งนึ้คือเป็นการสร้างสรรค์การแสดงโดยนำเอามรดกสถาปัตยกรรมอีสาน “สิม” และ “ฮูปแต้ม” มาเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์การแสดง สะท้อนความรู้สึกนึกคิด กิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภูมิปัญญาผ้าทอ มาผสมผสาน บูรณาการให้เกิดเป็นการแสดงชุดใหม่ภายใต้เกณฑ์การประกวดที่กรมพลศึกษาได้กำหนดขึ้น

ขอขอบคุณภาพจาก Facebook : Phromsak Sonthisamphun

ข้อมูล : อาจารย์พงศธร ยอดดำเนิน

020

023

022

024

021

003

009

012

017

019

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)