Open menu

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านศิลปกรรม หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Art Lane ในปีนี้ได้มีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 ระหว่างวันที่ 5-6 เมษายน 2562 ณ บริเวณสะพานขาว ด้านข้างอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ กิจกรรมภายในงานเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานด้านศิลปะในแขนงต่างๆ เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ออกแบบนิเทศศิลป์ ทางด้านดนตรีไทย ดนตรีสากล ดนตรีพื้นเมือง นาฏยศิลป์ ภาพยนตร์ การแสดงของภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมไปถึงการออกร้านสินค้าทำมือและกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ประกอบด้วย การสาธิตการแสดงดนตรี การวาดเส้นภาพเหมือนบุคคล การปั้นภาพเหมือนบุคคล การปฏิบัติงานดินเผา การปฏิบัติงานภาพพิมพ์ การปฏิบัติงานภาพสีน้ำมัน การแสดงภาพถ่าย การแสดงโชว์จากบ้านชีวาศิลป์ และอื่นๆอีกมากมาย

ก่อนเริ่มพิธีเปิดงานได้มีการแสดงโชว์ตีกลอง เดินแฟร์ชั่นโชว์จากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการขับกล่อมตรีจากนักร้องนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ น้องพอร์ชเช่ ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการเข้าประกวดรายการ Top One จากนั้นได้มีพิธีเปิดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อเวลาประมาณ 19.30 น.ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น   เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับการกล่าวรายงานถึงความร่วมมือในการจัดงานถนนศิลปะครั้งที่ 16 โดย รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ และมอบของที่ระลึกให้กับประธานในพิธี พร้อมทั้งเครือข่ายความร่วมมือ แขกผู้มีเกียรติ ผู้สนับสนุน และได้ร่วมกันถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

รศ.ดร.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี ได้กล่าวว่า คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการถนนศิลปะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 16 แล้วนั้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งเน้นในการนำความเป็นวิชาการ จากชั้นเรียนลงมาสู่ท้องถนน เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในทุกแขนงและทุกรูปแบบ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้การสนับสนุนโครงการเนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างพื้นที่สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่ส่งเสริมและเพิ่มคุณค่าของงานศิลปะ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ทางวิชาการสร้างสรรค์ โดยการเชิญภาคีเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมของภูมิภาคอย่างจริงจัง

รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีตอนหนึ่งว่า  การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผู้สนับสนุนจากหลากหลายหน่วยงาน อีทั้งความร่วมมือจากคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และศิษย์เก่าเป็นอย่างดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านศิลปกรรมของนักศึกษา คณาจารย์ นักคิด นักสร้างสรรค์ที่ผ่านการศึกษา วิจัย บูรณาการองค์กรความรู้ด้านศิลปกรรม นำมาสู่การแสดงผลงานที่เรียกว่าวิชาการข้างถนน

ด้านอาจารย์ ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ประธานในการจัดงานครั้งนี้ได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า  ภาพกิจกรรมโดยรวมของการจัดงานในครั้งที่ 16 ปีนี้ รูปแบบของการจัดกิจกรรมยังคงไว้ซึ่งแนวคิดที่ว่าวิชาการข้างถนน ซึ่งหมายความถึงการนำผลงานวิชาการไม่ว่าจะเป็นตำรา งานวิจัย ผลงานที่อยู่ในชั้นเรียน คนโดยทั่วไปจะมองดูว่ามันยาก ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายจึงมีแนวคิดทำให้มันง่ายต่อความเข้าใจให้ผู้คนทั่วไปสามารถรับรู้และสัมผัสและเข้าใจได้โดยง่ายในความสุนทรีย์โดยดึงผลงานวิชาการนั้นลงมาจัดแสดงไว้ที่ข้างถนน คำว่า “ ข้างถนน “ จึงเปรียบเทียบได้ง่ายๆซึ่งเปรียบเสมือน ร้านอาหารข้างทาง (Street Food)ตามวัฒนธรรมการกินของไทยเราที่มีให้เลือกบริโภคได้หลากหลายตามความต้องการ ในปีนี้ได้เชิญเครือข่ายที่มีการเรียนการสอนในงานสร้างสรรค์ ในคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมแสดงในกิจกรรมครั้งนี้ เช่น สาขาเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ สาขาศิลปศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

 

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกลุ่มศิลปินอีสานและสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติ นครเวียงจันทร์ สปป.ลาว ได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปกรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นนี้เป็นการจัดดำเนินงานครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้น ณ ลานวัฒนธรรม อ.เชียงคาน จ.เลย ระหว่างวันที่ 28 – 31 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา

มีกลุ่มศิลปินเข้าร่วมในโครงการครั้งนี้กว่า 100 ชีวิต ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดทางด้านศิลปะ ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เกิดผลงานของตนเองตามจินตนาการโดยใช้หลักแนวคิดของการสะท้อนชีวิตของสังคมที่กำลังอยู่ในที่นั้นๆ ถ่ายทอดผลงานสู่ผืนผ้าใบด้วยเทคนิคต่างๆของศิลปินที่จะเป็นผู้กำหนด และที่สำคัญของการรวมกลุ่มศิลปินอีสานครั้งนี้ ได้มีการนำนักศึกษาระดับบัญฑิตศึกษาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ เข้าร่วมถ่ายทอดความรู้จากศิลปินรุ่นใหญ่  ซึ่งเน้นการศึกษาโดยการนำเสนอปัญหา การอภิปราย และการวิเคราะห์วิพากษ์ เกี่ยวกับการพัฒนาความคิด การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ หรือผลงานศิลปกรรมในรูปแบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปพัฒนาทำงานเฉพาะบุคคล การแลกเปลี่ยนความรู้  เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้นมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องให้นักศึกษาจัดกิจกรรมสัมมนาในรูปแบบที่สมบูรณ์ครบขั้นตอน เพื่อนำสิ่งที่ได้นำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนและชีวิตจริงต่อไป

1

26410

26411

26412

26413

26414

 

ร่วมส่งแรงเชียร์แรงใจให้กับน้องพอร์ชเช่ หรือนางสาวชาลิสา ตุงคะเตชะ นักศึกษาสายวิชาดุริยางคศิลป์ สาขาวิชาดนตรีตะวันตกในเวทีประกวดรายการ"TOP ONE ตัวจริงชิงหนึ่ง ที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน โดยจะมีการแข่งขันให้มีผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวในวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2562 เวลา 18.20 น. ทางช่องวัน 31 ใครจะเป็นผู้ครองแชม์และก้าวสู่จุดสูงสุด “Top one ตัวจริงชิงหนึ่ง” พร้อมคว้าเงินรางวัล 500,000 บาท มาครอง โดยมีคณะกรรมการคุณภาพด้านเพลงทั้ง 3 ท่านเป็นส่วนหนึ่งในการให้คะแนนประกอบด้วย

"แก้ม วิชญาณี" ดีว่าตัวจริง ผู้มีประสบการณ์การแข่งขันบนเวทีประกวดร้องเพลง

"เอ๊ะ จิรากร" นักร้องตัวจริงของวงการ

"อ๊อฟ บิ๊กแอส" สุดยอดโปรดิวเซอร์ตัวจริงของวงการเพลง ผู้เบื้องหลังนักร้องชื่อดังอย่างบอดี้สแลม บิ๊กแอส

porcha

  วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการแข่งขันดนตรีโปงลางในงาน "มหกรรมโปงลางเฉลิมพระเกียรติ ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1"  ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้จัดขึ้น  โดยมี  ดร.พงศ์ศักดิฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  เป็นประธานในพิธี  เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2562 ณ เทอมินอลฮอลล์ ชั้น 4  ศูนย์การค้าเทอมินอล 21  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา

          วงโปงลางสินไซ  ได้จัดการแสดงเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ชุด  ได้แก่ ชุด เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  ชุด  เปิดวง   ชุด บรรเลงเส็ง   ชุดการแสดงเฉลิมพระเกียรติรัชกาล 9 น้ำทิพย์ของแถนไท้   และชุด สินไซลาแฟน  ซึ่งผลการประกวดมหกรรมโปงลางเฉลิมพระเกียรติชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 “อาศิรนาฏกรรมอีสาน”    วงโปงลางสินไซ  คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  แสดงความสามารถ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ มาครอง ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท   โดยมีชุดการแสดงเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9  ชุด น้ำทิพย์ของแถนไท้ เป็นแรงบันดาลใจจากที่พระองค์ให้พระราชทานฝนหลวง  จึงได้เปรียบพระองค์เป็นดั่งแถน  ผู้ประทานฝนให้กับชาวอีสาน  ดั่งน้ำทิพย์ชโลมผืนแผ่นดินให้ชุ่มช่ำ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรยามเกิดภัยแล้งได้อย่างแท้จริง และได้ช่วยเหลือประเทศชาตินานาประการจนมิอาจกล่าวได้หมดสิ้น พสกนิกรได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงสรรค์สร้างศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสาน  ด้วยความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมที่งดงาม

          ทั้งนี้  วงสินไซ ยังได้รับรางวัลการแสดงเส็งอีสานยอดเยี่ยม โดยรับเงินรางวัล 10,000 บาท  ซึ่งเป็นการแสดงที่บอกเล่าถึงการชีวิตความเป็นอยู่ของคนอีสาน รักใครกลมเกลียวกัน เมื่อถึงเทศกาลบุญเดือนหกซักซ้อมขบวนบุญบั้งไฟ ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะซักซ้อมขบวนบุญบั้งไฟของตัวเอง จึงเกิดการประชัน ของนักดนตรี ที่ใช้เครื่องดนตรีในชุมชนมาเส็งประชันกัน สร้างความสามัคคีระหว่างชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

          “วงสินไซ” ได้รับรางวัลมาถึง 2 รางวัลในครั้งนี้  นับเป็นความทุ่มเทของทีมนักแสดง  นักดนตรี  นักร้อง  และอาจารย์ผู้ควบคุมวง ที่ได้ฝึกซ้อมนำออกแสดงแข่งขันอย่างมืออาชีพ นำเรื่องราวของมรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานมาร้อยเรียงเรื่องราวของอัตลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ  เป็นแบบอย่างที่ดี  สามารถนำศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสานมาจัดแสดงได้อย่างดงาม และสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมอีสานอย่างงดงามยื่ง

 

          ผลการแข่งขัน ประกวดมหกรรมโปงลางเฉลิมพระเกียรติชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1

                                                            “อาศิรนาฏกรรมอีสาน”

รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรางวัล 150,000 บาท 
          วงโปงลางศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม     

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 100,000 บาท
          วงโปงลางสินไซ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 50,000 บาท
          วงโปงลางคนอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 

รางวัลชมเชย   ได้รับโล่เกียรติยศ  และเงินรางวัลละ 30,000 บาท
1. วงโปงลางคชศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
2. วงโปงลางผกาลำดวน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
3. วงโปงลางราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

รางวัลแสดงอศิรนาฏกรรมอีสานยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
          วงโปงลางศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รางวัลแสดงเส็งอีสานยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
          วงโปงลางสินไซ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลผู้ขับร้องยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
          โปงลางคนอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ข่าว         :    วัชรา   น้อยชมภู
ภาพ        :    วิชิต   ภักดีรัตน์
ขอบคุณ   :    www.rmuti.ac.th

537494914138374660591524680465869518667776n

542580815470259424544856865494506712596480n

5341201022112054391972951351940354844131328n535739174779636660716446782181186371321856n

533252432626819280007433312720627730743296n

5350957021900605212558455660604602198786048n

535635714087300099366128409971433618276352n

535917253951296912678408703167324540108800n

535990643418004331007278712177792264962048n

537280473388571900834148582246549000552448n

536485496482647989267734746864792604508160n

544118493621638077082615687116335805366272n

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้ดำเนินการวิจัยชุดโครงการอัตลักษณ์และภูมิปัญญาในงานศิลปกรรมพม่า เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งประกอบด้วย โครงการย่อย 5 โครงการที่รวบรวมการศึกษาที่ครอบคลุมและหลากหลาย เช่น พระไม้ บ้านพื้นถิ่น ลวดลายประดับฯ หัตถกรรม เครื่องดนตรีในระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2562

สำหรับการศึกษาวิจัยลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลครั้งนี้ได้มีการนำทีมโดย รศ.ดร.นิยม วงษ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยทีมงานวิจัย ประกอบด้วย อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาร่วม 20 คน โครงการนี้นอกจากจะเป็นการวิจัยเพื่อศึกษาและต่อยอดองค์ความรู้แล้วยังเป็นการฝึกนักวิจัยหน้าใหม่ในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก ในการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามด้วยการปฏิบัติจริงโดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงประวัติ ความเป็นมา ตลอดจนอัตลักษณ์และภูมิปัญญางานศิลปกรรมเมืองเชียงตุง สาธารณรัฐสหภาพพม่า

เส้นทางการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัยชุดนี้ได้เดินทางเก็บข้อมูลเริ่มต้นจากบ้านพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เชียงตุง – หมู่บ้านหนองเงินหรือหมู่บ้านเฟยฮุงหมู่บ้านเก่า  - วัดถ่างลุ – วัดบ้านไซ – วัดพระธาตุฮวยหลวง – วังตงสี่ (นอกเมือง) – พระธาตุจอมดอย – วัดเจ้าสินมั่น – พระธาตุบ้านเมือง – พระธาตุเบียงใจ – วัดยางกวง – พระพุทธรูปโบราณกว่า 300 องค์ ที่วัดอินบุพผาราม – วัดพระธาตุจอมคา – วัดเชียงยืน – วัดหัวข่วง – วัดพระเจ้าหลวง – วัดพระแก้ว – วังทายาทเจ้าฟ้าหรือหอคา – หอนางฟ้าพระสนม ตลอดจนตึกข้าราชการของสหรัฐไทยเดิม

 

07

08

14

13

03

02

21

05

 

 

                                                                                                                                          

     
         
       
       
     

 

                                                                  

   

ข่าวประชาสัมพันธ์

สานศิลป์ (จดหมายข่าว)