วันเสาร์ที่ 20 กรกฏาคม 2562 Generasi Wonderful Indonesia (GENWI), สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กองการต่างประเทศ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดงาน “Sedoso Budoyo: Screet Culture of New Bali” ขึ้น ณ โรงละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานในพิธีร่วมกับ Mr. Dodo Sudrajat อุปทูตฯ อินโดนีเซีย โดยมี อ.ดร.ภัทร์ คชภักดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรให้การต้อนรับ การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงแหล่งท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีอีกหลายสถานที่ที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว พักผ่อน ตลอดจนศึกษาเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าท้องถิ่นนั้นๆ และภายในงานยังได้มีการจัดแสดงดนตรีพื้นถิ่นทางวัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซียและร้านค้าอาหารอย่างมากมายที่ผู้ร่วมงานสามารถชม – ชิม ได้ฟรีตลอดงาน
Khon Kaen, 20 July 2019, Generasi Wonderful Indonesia (GENWI) or Wonderful Generation of Indonesia, just conducted a spectacular program in promoting new Indonesia’s tourist destinations. The theme carried out was “Sedoso Budoyo: Screet Culture of New Bali” and the whole carried theme was about 10 New Bali. Those 10 New Bali mentioned are Lake Toba in North Sumatera, Tanjung Kelayang in Belitung, Tanjung Lesung in Banten, Pulau Seribu in Jakarta, Borobudur in Central Java, Mandalika in Lombok, Mount Semeru in East Java, Wakatobi in Northeast Sulawesi, Labuan Bajo in East Nusa Tenggara and Morotai in Norht Maluku. Indonesian Student Association in Thailand Chapter Khon Kaen took the role as the commitee of the agenda. As well as some other supporters. In this special occations Mr. Dodo Sudrajat as the representative of The Ambassy of The Republic of Indonesia appreciated the effort of this event so that can be succesfully held. “We appreciate this event to be held continously in the future. This event is one of promotion way of our 10 New Bali. Those 10 New Bali are as beautiful as Bali. But it has its own uniqueness” he said at the Theater Room, Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University. As Mr. Dodo Sudrajat appreciation, The representative of Faculty of Fine and Applied Arts Khon Kaen University and also The President of Khon Kaen University appreciate this event. “We do hope that this collaboration will continously be held between Khon Kaen University and Indonesia” Said Patrick Kotchapakdee as the representative of Faculty of Fine and Applied Arts Khon Kaen University In this occation, there are some local performances from Indonesia that was mesmeric for all the invited audiences. Medley dances of 10 New Bali that represents those ten local dances. Bambangan Cakil Dance also as well. This dance is adopted from one of the scenes in puppet story. It tells the bettle between warrior and giant. And the most attractive session was angklung music demonstration. Bhawika Hikmat Prasetya, as the music conductor was actively demonstrated how to play angklung correctly followed by all the audiences. As part of the event, some local product owner from Indonesia were also invided to promote theirs. The committee also provided booths for product showing off outside of the theater room. The audience can directly buy it late after. And during the occation there were a number of doorprises given for those who actively participated in question and answer session. In the last session, the invited audiences were invited to the special dinner with both cullinary from Indonesia and Thailand (hyd).
ด้วยโรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น ผู้อำนวยการโรงเรียน นายสันติ ฤาไชย และอาจารย์นาวิน โพละลัย ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ โดย ผศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ และทีมนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 นางสาวกิตติวรรณ ข้อยุ่น นางสาววราภรณ์ สิทธิปกรณ์ และนางสาวอรณัฐ เฉียงสระน้อย ร่วมดำเนินโครงการกิจกรรมการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ผลิตภัณฑ์สินค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้วิถีชีวิตพึ่งพาตนเอง ให้มี ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ เป็นสถานฝึกประสบการณ์เพื่อการมีงานทำ โดยการเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากฝีมือนักเรียน ร้านกาแฟ และเครื่องดื่ม กิจกรรมการดำเนินงาน เน้นเรียนรู้แบบบูรณการที่ขับเคลื่อนการเรียนยุค 4.0 สร้างเศรษฐกิจแก่ชุมชน ส่งเสริมการเรียนการสอนในการลงพื้นที่จริง จิตอาสาเรียนรู้ร่วมสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อสังคม ในการบริการวิชาการรอบรั้วมหาวิทยาลัย ที่ขับเคลื่อนการเรียนยุค 4.0 ในรายวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการจัดนิทรรศการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สำหรับการลงมือปฏิบัติ ร่วมประสบการณ์การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ผลิตภัณฑ์สินค้าร่วมกัน ชื่อ สคูลบัค “Schoolbucks SVKK” อัตลักษณ์แบรนด์ผลิตภัณฑ์สินค้า โดยผลงานการออกแบบประกอบด้วย ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ฉลาก คาแรคเตอร์และมาสคอต ภายไต้การบริหารจัดการของโรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น เปิดตัวเป็นทางการ วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น บริเวณทางเข้าด้านหน้า
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัยครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ“ศิลปะสร้างโลก” Art Create the World ระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรม อวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากคุณกรกต อารมย์ดี ศิลปินรางวัล “ศิลปาธร” สาขาศิลปะการออกแบบ ประจำปี 2561 ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วิธี และ วิถี ของการอนุรักษ์และพัฒนางานอุตสาหกรรมพื้นบ้าน สู่สากล”
ภายในงานได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยแขกที่สำคัญอีกหลายท่านทั้งผู้บริหารภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้บริหารจากเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจากหลากหลายสถาบัน พร้อมทั้งได้มีการลงนามความร่วมมือทางด้านศิลปะกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้ง 28 สถาบัน โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการพัฒนาด้านวิชาการทั้งเนื้อหาและกิจกรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของอาจารย์และนักศึกษาในการจัดทำโครงการทางด้านวิชาการรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การอบรมสัมมนา การบริการทางวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
การจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นความร่วมมือจากกลุ่มภาคีเครือข่ายทางด้านศิลปกรรมรวมทั้งสิ้น 28 เครือข่ายซึ่งประกอบไปด้วย
ความคาดหวังของการดำเนินงานเพื่อมุ่งเน้นหลักสูตรและองค์กรได้รับคุณภาพมาตรฐานสากล เน้นการวิจัยและสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม โดยเน้นทุนทางวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การเป็นองค์กรภาคีหุ้นส่วนกับองค์กรที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชนและสังคม และการสร้างมูลค่าเพิ่มของศิลปกรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทาง Culture Based Economy การส่งเสริมและการสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์การวิจัยทางด้านศิลปกรรม และงานสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ตระหนักและให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเป็นศักยภาพทางด้านการวิจัย ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน
รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ประธานในพิธี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการศึกษาค้นคว้าผลงานทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรีและการแสดง และวัฒนธรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ ช่วยสร้างสังคมที่งดงามและเป็นสุข”
การจัดงานประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานการวิจัย ผลงานวิชาการ และงานสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์และนำไปสู่การส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ประธานการดำเนินการจัดงาน ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า “สิ่งหนึ่งที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทั้งภาคีเครือข่ายได้มีแนวความคิดเห็นร่วมกันในการจัดเวทีนำเสนอผลงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขึ้นเพื่อนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติพร้อมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างนักวิจัยใหม่ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์และเป็นช่องทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. เพื่อพร้อมรับการก้าวสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาในระดับ EdPEx 200 ในเช้าวันจันทร์ที่ 15 กรกฏาคม 2562 ณ ห้องประชุมดอกศิลป์ 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุมศึกษาที่เข้ามาตรวจเยี่ยมคณะ (Site Visite) ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ศาสตราจารย์ชัยรัตน์ ฉายากุล (ประธานกรรมการ) รองศาสตราจารย์วิไลวรรณ โชติเกียรติ (กรรมการ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานดา จันทร์แย้ม (กรรมการ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภดล ทองนพเนื้อ (อนุกรรมการจาก สกอ.) นายเมธัส บันเทิงสุข (เจ้าหน้าที่ สกอ.) และนางสาวศุภลักษณ์ โอสถานนท์ (เจ้าหน้าที่ สกอ.)
จากนั้นก่อนเริ่มต้นการตรวจประเมินคุณภาพฯ รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ได้กล่าวต้อนรับทีมคณะกรรมการที่ได้ให้เกียรติเข้าตรวจเยี่ยมคณะฯเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : EdPEx200 รุ่นที่ 6 พร้อมกันนี้ได้บรรยายภาพรวมและทิศทางการพัฒนาคณะฯให้กับทางคณะกรรมการฯได้รับทราบ จึงเข้าสู่ขั้นตอนของการตรวจประเมินต่อไป
EdPEx ย่อมาจาก "Education Criteria for Performance Excellence" หรือ "เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ" ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award : MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบัน คณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา สกอ. ได้ออกประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา เรื่อง กำหนดแนวทางการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) ไปใช้ในการประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา สามารถเลือกระบบคุณภาพที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาของไทยให้มีคุณภาพอย่างก้าวกระโดด
โครงการ “การนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน” เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้คณะ/สถาบัน สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อขอรับการประเมินคุณภาพภายในตามเกณฑ์ EdPEx หากมีผลการประเมินไม่น้อยกว่า 200 คะแนน จะได้รับการยกเว้นการตรวจประเมินคุณภาพภายในตามเกณฑ์ของ สกอ.เป็นเวลา 4 ปี และใช้ระบบ EdPEx เป็นระบบประเมินคุณภาพภายใน (IQA) แทน และภายใน 4 ปี จะต้องมีผลการประเมินตามเกณฑ์ EdPEx ไม่น้อยกว่า 300 คะแนน หากไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้ คณะ/สถาบัน ต้องกลับไปใช้ระบบ IQA ของ สกอ.ตามเดิม
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ได้มีความร่วมมือกับเจเปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation) ในกาจัดนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น : Japanese Design Today 100 ” โดยเป็นนิทรรศการหมุนเวียนจัดแสดง 3 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพ เชียงใหม่ และขอนแก่น ระหว่างวันที่ 11-28 กรกฏาคม 2562 เวลา 9.00 – 19.00 น. เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ สร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดเชิงสร้างสรรค์ให้กับนิสิตและนักศึกษาและประชาชนทั่วไป
สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ได้มีการจัดแสดงผลงาน ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีพิธีเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเย็นวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฏาคม 2562 ที่ผ่านมา ก่อนพิธีเปิดจะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการได้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การออกแบบ แบบญี่ปุ่น vs การออกแบบ แบบไทย” โดยคุณจุฑามาส บูรณะเจตน์ และคุณปิติ อัมระรงค์ (นักออกแบบจากสตูดิโอ o-d-a) ต่อด้วยการบรรยายในหัวข้อ “การออกแบบ แบบญี่ปุ่น vs การออกแบบ แบบอีสาน” โดยอาจารย์ขาม จาตุรงคกุล (อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม) เสร็จสิ้นการบรรยายได้เข้าสู่พิธีการเปิดนิทรรศการ ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) คุณพิชิต วีรังคบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ได้กล่าวรายงานถึงความร่วมมือกับ อาจารย์ ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี จากนั้นได้ร่วมกันถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกและเดินเยี่ยมชมผลงานที่ได้นำมาจัดแสดง
อาจารย์ ดร.ปรีชาวุฒิ อภิระติง รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ได้กล่าวในตอนหนึ่งของพิธีเปิดนิทรรศการว่า “ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญของการส่งเสริมศักยภาพนักศึกษา นักออกแบบ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้มีมุมมองด้านการออกแบบที่ผสมผสานและร่วมสมัย เพื่อก้าวสู่การเป็นฟันเฟืองสาคัญที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศให้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล อันสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ของรัฐบาล ที่มุ่งส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจด้วยเศรษฐกิจกระแสใหม่ ด้วยการผสานกำลังกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และ เจแปนฟาวเดชั่น ประเทศไทย ในการจัดนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” (Japan Design Today 100) ขึ้น ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (FAG) มหาวิทยาลัยขอนแก่น แห่งนี้ ให้กลายเป็นนิทรรศการที่เชื่อมต่อระหว่างผลงานการออกแบบอันทรงคุณค่าจากประเทศญี่ปุ่น กับ นักศึกษา นักออกแบบ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของ จ.ขอนแก่น และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ได้ศึกษาแนวคิดการออกแบบที่ร่วมสมัย การประยุกต์ใช้วัสดุท้องถิ่น การต่อยอดผลงานการออกแบบในหลากหลายมิติ อันจะนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบท้องถิ่นได้อย่างมีศักยภาพ”
เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency: CEA) โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center: TCDC) นำเสนอนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100 ที่แสดงถึง “วิถีร่วมสมัย” ของชาวญี่ปุ่นที่เปิดทางให้จารีตแบบดั้งเดิมเดินทางไปพร้อมกับนวัตกรรมและการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลผ่านตัวอย่างของการออกแบบที่ดีที่สุดเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 100 ผลงาน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของลักษณะงานดีไซน์ญี่ปุ่น และนำสู่การศึกษารูปแบบสังคมแนวคิดในการสร้างสรรค์งานที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100 สัญจรไปจัดแสดงทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และมีการปรับรูปแบบใหม่โดยรวบรวมการออกแบบสินค้าในปัจจุบันควบคู่ไปกับการออกแบบสมัยใหม่นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบสมัยนี้ ภายในห้องนิทรรศการเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริงในปัจจุบันจำนวน 89 ชิ้น และตัวแทนคาแรกเตอร์ดีไซน์ญี่ปุ่นอีก 11 ผลงาน ทั้งหมดถูดจัดกลุ่มตามประเภทการใช้งานจำนวน 10 กลุ่ม ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเข้าใจในวัสดุและนวัตกรรมที่เหมาะกับการใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง
ในส่วนวัตถุจัดแสดงได้รับการคัดเลือกโดยภัณฑารักษ์ชาวญี่ปุ่น จำนวน 4 คน นำโดย ฮิโรชิ คาชิวางิ และ มาซาฟูมิ ฟูคากาวะ ที่ให้ความสำคัญกับ ดีไซน์สเคป การสำรวจวิถีชีวิต มุมมอง วัฒนธรรม และมุมมองของผู้ใช้ในสังคมร่วมสมัย รวมถึง โนริโกะ คาวากามิ และ ชู ฮางิวาระ นำเสนอจุดแข็งของนักออกแบบชาวญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับแหล่งผลิตในภูมิภาคทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาและช่างฝีมือในท้องถิ่น
ผู้ที่สนใจในผลงานศิลปะสามารถแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจได้ระหว่างวันที่ 11 – 28 กรกฏาคม 2562 ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (เปิดให้ชมฟรีทุกวัน ยกเว้นวันอังคารที่ 16 และพุธที่ 17เท่านั้น)